ติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ช่วยประหยัดค่าไฟจริงไหม ติดยังไงให้คุ้มค่าที่สุด?

หนึ่งในวิธีลดค่าไฟอย่างมีประสิทธิภาพที่ใครหลายคนให้ความสนใจคงหนีไม่พ้น “โซล่าเซลล์” (Solar Cell) นวัตกรรมที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ที่ไม่มีวันหมด ได้เป็นพลังงานไฟฟ้าสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และช่วยลดค่าไฟได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

แต่ก่อนที่จะหาบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น มาดูกันก่อนว่า Solar Cell มีการทำงานยังไง แล้วจะสามารถช่วยลดค่าไฟได้อย่างไร เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นและเลือกติดโซล่าเซลล์บ้านได้คุ้มค่าที่สุด
ติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ช่วยประหยัดค่าไฟจริงไหม ติดยังไงให้คุ้มค่าที่สุด
ติดตั้งโซล่าเซลล์คุณภาพสูงกับบริษัท ณัฐภูมิ วิศวกรรม

Solar Cell คืออะไร? มีหลักการทำงานอย่างไร

Solar Cell คือ แผงโซล่าเซลล์ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์สุริยะจำนวนมาก มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์ จากนั้นจะทำการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระบวนการแปลงพลังงานนั้นไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อชั้นบรรยากาศ เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง

 

เมื่อไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงแล้ว พลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากระบบของ Solar Cell เกิดขึ้นได้อย่างไร? หลักการทำงานของโซล่าเซลล์คือ รับพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นเซลล์สุริยะและสารซิลิคอนบนแผงโซล่าเซลล์จะทำปรากฏการณ์โฟโต้โวลตาอิก (Photovoltaic) เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

 

หลังจากได้พลังงานกระแสไฟฟ้ามาแล้ว จะต้องทำการปรับแรงดันไฟฟ้าให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับผ่านตัวแปลงอินเวอร์เตอร์ (Inverter) และส่งเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง

ปรึกษาและวางแผนการติดตั้ง solar cell กับบริษัท ณัฐภูมิ วิศวกรรม จำกัด

ส่วนประกอบที่สำคัญของ Solar Cell มีอะไรบ้าง?

เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามหลักการอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แผง Solar Cell จึงจำเป็นต้องมีส่วนประกอบสำคัญหลัก ๆ 4 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย

 

  • แผง Solar Cell

แผ่นลักษณะคล้ายกระจกสีเงิน ทำหน้าที่รับและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า

 

  • Solar Cell Battery

แบตเตอรี่จะเป็นส่วนประกอบของ Solar Cell 2 ประเภท ได้แก่ Off-Grid Solar Cell และ Hybrid Solar Cell ทำหน้าที่สะสมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เก็บไว้สำรอง เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในเวลาฉุกเฉิน

 

  • อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter)

อินเวอร์เตอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีหน้าที่แปลงกระแสแรงดันไฟฟ้า เพราะโดยทั่วไปแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าจะใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ ในขณะที่แผงโซล่าเซลล์แปลงพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง

 

  • โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar Charge Controller)

สำหรับโซล่าชาร์จเจอร์ จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Solar Cell ในส่วนของการนำกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ และควบคุมการจ่ายออกจากแบตเตอรี่

กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย solar cell

ประเภทของ Solar Cell ที่ใช้ในปัจจุบัน

การจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้คุ้มค่าก็ขึ้นอยู่กับประเภทของ Solar Cell เช่นกัน เพราะแต่ละประเภทก็จะมีข้อดี ข้อจำกัดแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานโซล่าเซลล์ของแต่ละคนอีกด้วย โดยประเภทของ Solar Cell ในปัจจุบัน มีดังนี้

 

1. On-Grid Solar Cell

Solar Cell แบบออนกริด เป็นรูปแบบประเภทโซล่าเซลล์ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปอย่างแพร่หลาย โดยจะมีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าส่วนกลาง แปลว่าการติดตั้ง Solar Cell ประเภทนี้จะต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าก่อนติดตั้ง และช่วยประหยัดค่าไฟบางส่วน

 

การทำงานของ Solar Cell ประเภทออนกริดคือ หลังจากรับพลังงานแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแล้ว จะทำการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ของการไฟฟ้าส่วนกลาง เพื่อเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ จากนั้นจึงจะส่งกลับเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือน

 

2. Off-Grid Solar Cell

Solar Cell แบบออฟกริดจะแตกต่างกับออนกริดตรงที่จะส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรง ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องรับไฟฟ้ากระแสตรงได้ นอกจากนี้ยังใช้ได้ทั้งแบบมีแบตเตอรี่ และไม่มีแบตเตอรี่อีกด้วย

 

โดยแบตเตอรี่ที่ใช้ใน Off-Grid Solar Cell จะเป็นแบตเตอรี่ Deep Cycle ซึ่งสามารถสำรองไฟฟ้าได้นาน ส่งผลให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอดวัน ในส่วนของราคา โซล่าเซลล์ออฟกริดจะมีราคาสูงกว่าแบบออนกริดเล็กน้อย

 

3. Hybrid Solar Cell

Solar Cell แบบ Hybrid คือการรวมระบบโซล่าเซลล์ออนกริดและออฟกริดเข้าด้วยกัน โดยจะมีแบตเตอรี่ไว้สำรองไฟฟ้าเพื่อใช้ในเวลากลางคืนหรือเวลาฉุกเฉินเช่นกัน แต่ระบบไฮบริดจะมีข้อดีเสริมอีกหนึ่งอย่างคือ หากไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่หมด จะทำการดึงไฟฟ้าส่วนกลางจากการไฟฟ้ามาใช้ ทำให้สามารถใช้ไฟได้อย่างต่อเนื่อง

บริษัท ณัฐภูมิ วิศวกรรม รับติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน ออฟฟิศ โรงงาน

Solar Cell แต่ละประเภท เหมาะกับใคร?

Solar Cell ทั้งหมด 3 ประเภทนั้นก็เหมาะกับพื้นที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าสูงสุด มาดูกันว่า Solar Cell แต่ละประเภท เหมาะกับใคร และสถานที่แบบไหน

  • On-Grid Solar Cell เหมาะสำหรับครัวเรือนทั่วไป บ้าน ออฟฟิศ คาเฟ่ หรือสถานที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากในช่วงเวลากลางวัน
  • Off-Grid Solar Cell เหมาะกับพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น ดอย ภูเขา เกาะ พื้นที่ทำการเกษตร
  • Hybrid Solar Cell เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และจำเป็นต้องใช้ทีมติดตั้งผู้เชี่ยวชาญการเดินวงจรไฟฟ้า

ติดตั้ง Solar Cell ยังไงให้คุ้มค่า ประหยัดไฟได้มีประสิทธิภาพที่สุด?

มาถึงหัวข้อที่หลายคนอยากรู้ คือ การติดตั้ง Solar Cell ทำยังไงให้คุ้มค่า ช่วยลดค่าไฟได้มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะการลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง หากเลือกประเภทไม่เหมาะสมกับพื้นที่อาจไม่คุ้มกับการลงทุนได้ ดังนั้นมาดูกันว่าก่อนติดโซล่าเซลล์บ้าน ควรพิจารณาอะไรบ้าง

1. รู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เลือกประเภท Solar Cell ที่ควรติดตั้งกับบ้านของเราได้ โดยจะต้องสังเกตมิเตอร์ช่วงเช้าและช่วงเย็น จากนั้นนำมาหักลบหาส่วนต่างว่าใช้ไฟในช่วงกลางวันประมาณเท่าไหร่ ให้สังเกตเลขมิเตอร์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นจำนวน 4-7 วัน แล้วนำส่วนต่างมารวมกันและหารด้วยจำนวนวันที่สังเกต ก็จะได้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยต่อวัน

คำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าก่อนติดโซล่าเซลล์บ้าน

2. คำนวณงบประมาณให้รอบคอบ

การคำนวณงบประมาณนั้นจะช่วยให้สามารถรู้จุดคุ้มทุนในการติดตั้ง Solar Cell ได้ โดยจะต้องคำนวณทั้งปริมาณการใช้ไฟฟ้า ราคาของโซล่าเซลล์ ค่าไฟปกติต่อเดือนและรายปี

 

สามารถอ่านวิธีคำนวณงบประมาณติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างละเอียดได้ที่ : วิธีคำนวณงบประมาณติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

 

3. เลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับบ้าน

เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับบ้าน คือ เลือกกำลังผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า สิ่งนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะคุ้มค่ามากหรือน้อย


ยกตัวอย่างง่าย ๆ ใน 1 วันจะมีโอกาสรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ประมาณ 4 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวันละ 45 หน่วย ให้นำหน่วยไฟฟ้าที่ใช้/ปริมาณแสงอาทิตย์ ก็จะได้เป็น 45/4 = 11.25 ดังนั้นควรเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 12v จึงจะคุ้มค่าที่สุด หรือหากใครไม่มั่นใจ ในส่วนนี้สามารถนำปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านไปปรึกษากับบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ได้

nutthaphume engineering บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านด้วยแผงคุณภาพสูง

4. เลือกบริษัทติดตั้ง Solar Cell ที่ไว้ใจได้ มีการรับรองมาตรฐาน

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แตกต่างจากการติดหลอดไฟ Solar Cell เนื่องจากจะต้องมีการเดินวงจรไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องให้ช่างผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการติดตั้งมาดำเนินการแทน การเลือกบริษัทติดตั้ง Solar Cell ที่ได้มาตรฐานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจพิจารณาในการเลือกใช้บริการ โดยหลัก ๆ แล้วควรเลือกบริษัทที่ไว้วางใจได้ ให้คำปรึกษาอย่างจริงใจ บริการหลังการขายและการรับประกันครอบคลุม ที่สำคัญคือมีทีมช่างที่เชี่ยวชาญการติดตั้ง อุปกรณ์ได้มาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพอย่างถูกต้อง

 

อ่านเพิ่มเติม: 5 คุณสมบัติที่ต้องมีของบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานที่น่าเชื่อถือ

 

ราคาและค่าติดตั้ง Solar Cell อยู่ที่เท่าไหร่ ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผล

ราคาแผง Solar Cell นั้นจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณหลักหมื่นไปจนถึงแสนบาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับประเภทและระบบการทำงาน ในส่วนของค่าบริการติดตั้งจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณในการติดตั้ง

 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ระยะทางในการเดินทางไปติดตั้ง
  • พื้นที่ในการติดตั้งโซล่าเซลล์
  • อุปกรณ์เสริม Inverter ที่เลือกใช้
  • ความยากง่ายของบริเวณที่ติดตั้ง
  • บริการเสริมอื่น ๆ เช่น การดำเนินเรื่องขออนุญาตติดตั้งกับการไฟฟ้า 

 

บริการหลังการขายนั้นควรที่จะต้องมีการเจรจากับทางบริษัทติดตั้งให้ละเอียดว่าบริการนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่เสียโอกาสในภายหลัง

ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กับบริษัท ณัฐภูมิ วิศวกรรม ราคาคุ้มค่า

ติดตั้ง Solar Cell โดยทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์สูงกับ ณัฐภูมิ วิศวกรรม

ปรึกษา ออกแบบติดตั้งแผง Solar Cell กับ Nutthaphume Engineering บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่นำทีมด้วยวิศวกรคุณภาพ ให้บริการครบวงจรตั้งแต่การออกแบบระบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ของเรามีมาตรฐานรับรองมากมาย ทีมช่างมีความเชี่ยวชาญ พร้อมเต็มใจให้บริการตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ทิ้งงาน

 

ปรึกษาทีมงานหรือขอใบเสนอราคาได้เลย ติดต่อเรา

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)