แบตเตอรี่โซล่าเซลล์คืออะไร? เลือกแบบไหนให้ตอบโจทย์การใช้งาน

เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์เริ่มมีบทบาทต่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ระบบโซลาร์เซลล์กลายเป็นหนึ่งในทางเลือกหลักสำหรับการผลิตไฟฟ้าใช้เอง ทั้งในบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม แต่ระบบโซลาร์เซลล์จะทำงานเต็มประสิทธิภาพได้นั้น ต้องอาศัยส่วนประกอบสำคัญอย่าง แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ ซึ่งคอยเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าในระบบโซลาร์เซลล์

บทความนี้จะพาไปดูกันว่า แบตเตอรี่โซล่าเซลล์มีกี่แบบ ข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ วิธีเลือกและคำแนะนำการใช้งานที่เหมาะสม เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม
แผงโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงานทำงานร่วมกับแบตเตอรี่โซล่าเซลล์

อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่โซล่าเซลล์

แบตเตอรี่โซล่าเซลล์คืออะไร?

แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ (Solar Battery) คือ อุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์ไปยังแผงโซลาร์เซลล์ โดยพลังงานที่เก็บไว้ใน Solar Battery จะถูกนำมาใช้งานในช่วงที่ไม่มีแสงแดด เช่น เวลากลางคืน วันที่มีเมฆหนาแสงแดดน้อย หรือช่วงฝนตก ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ระบบโซล่าเซลล์ทำงานได้ต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และยังมีพลังงานไฟฟ้าภายในบ้านหรือธุรกิจไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินได้

จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์หรือไม่?

ความจำเป็นในการติดแบตเตอรี่โซลาร์เซลล์ อาจต้องพิจารณาจากลักษณะของการใช้พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการพลังงานในการผลิตอย่างสม่ำเสมอในช่วงกลางวันและกลางคืน รวมถึงการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงเวลา กรณีนี้การติดตั้ง Solar Battery จึงเป็นเรื่อง ‘จำเป็น’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการติดแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์ยังมีข้อดีในเรื่องอื่น ๆ เช่น 

  • เพื่อสำรองพลังงานไว้ใช้ยามค่ำคืน
  • ป้องกันไฟตกหรือไฟดับในช่วงฉุกเฉิน
  • ใช้พลังงานที่ผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ปล่อยทิ้งไปเปล่า ๆ
  • เหมาะกับพื้นที่ห่างไกล ไฟฟ้าดับบ่อยหรือไม่มีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าถึง

 

อ่านบทความที่น่าสนใจ : แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ในโรงงาน จำเป็นหรือไม่? รู้ข้อดี ก่อนตัดสินใจลงทุน

แบตเตอรี่โซล่าเซลล์มีกี่แบบ?

ปัจจุบันมีแบตเตอรี่สำหรับระบบโซล่าเซลล์หลายประเภท โดยส่วนใหญ่แล้วแบ่งตามเทคโนโลยีหรือสารประกอบที่ใช้ ทำให้มีตัวเลือกมากมาย แต่ประเภทแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ที่นิยมใช้แบ่งเป็น 4 ชนิดหลัก ดังนี้

 

1. แบตเตอรี่ตะกั่ว (Lead-Acid Battery)

แบตเตอรี่ใช้กับโซล่าเซลล์แบบตะกั่ว เป็นรูปแบบที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และที่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งมาก และการติดตั้งต้องอาศัยพื้นที่ที่มีระบบระบายอากาศได้ดี

ข้อดี

  • ราคาถูก
  • หาอะไหล่ง่าย
  • เหมาะกับระบบขนาดเล็ก-กลาง

ข้อเสีย

  • น้ำหนักมาก
  • หากไม่ได้ใช้งานควรชาร์จซ้ำทุก 3 เดือน 

 

2. แบตเตอรี่ลิเธียม (Lithium Battery)

สำหรับแบตเตอรี่แบบลิเธียมนั้นได้รับความนิยมในการใช้งานร่วมกับระบบโซล่าเซลล์เช่นเดียวกัน โดยแบตเตอรี่ประเภทนี้ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ 

Li-ion (Lithium-ion)

แบตเตอรี่โซล่าเซลล์แบบลิเธียมไออน เป็นประเภทที่มีความเสถียรในการจ่ายพลังงาน รองรับกับการชาร์จพลังงานที่รวดเร็ว เหมาะกับการใช้งานได้ทั้งในรูปแบบโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และกลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานขนาดเล็ก  

LiFePO4 (Lithium Iron Phosphate)

แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนฟอสเฟต ประเภทนี้จะมีคุณสมบัติในการทนต่อความร้อนและมีความปลอดภัยสูง จ่ายพลังงานได้เสถียรและมีอายุการใช้งานยาวนาน รองรับการใช้งานได้ทั้งระบบขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ข้อดี

  • น้ำหนักเบา
  • อายุการใช้งานนาน 
  • ชาร์จ-จ่ายไฟได้เร็ว
  • ไม่ต้องบำรุงรักษามาก

ข้อเสีย

  • ราคาสูง
  • ต้องใช้ระบบป้องกันแรงดันไฟเกิน 

 

3. แบตเตอรี่แบบน้ำ (Flooded Lead-Acid Battery)

แบตเตอรี่ใช้กับระบบโซล่าเซลล์ประเภทนี้ เป็นรูปแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นเพื่อใช้งาน ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และราคาถูกที่สุดในทุกประเภท การติดตั้งอาจต้องอยู่ในบริเวณที่ดูแลรักษาได้ง่ายเพื่อการใช้งานที่ยาวนาน

ข้อดี

  • ราคาถูก
  • เหมาะกับการใช้งานทั่วไป

ข้อเสีย

  • ต้องคอยเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอ
  • ต้องเลือกพื้นที่ติดตั้งในจุดที่เข้าถึงง่าย
  • อายุการใช้งานน้อยหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

 

4. แบตเตอรี่แบบเจล (Gel Battery)

Solar Battery แบบเจลระบบปิด ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ทำให้ไม่มีปัญหารั่วไหลและไม่ต้องดูแลรักษาให้ยุ่งยาก แต่การใช้งานอาจไม่ตอบโจทย์สำหรับการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ด้วยประสิทธิภาพที่อาจต่ำกว่าแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ประเภทอื่น

ข้อดี

  • ราคาถูก
  • ไม่ต้องคอยบำรุงรักษามาก

ข้อเสีย

  • ประสิทธิภาพโดยรวมค่อนข้างต่ำกว่าแบตเตอรี่แบบอื่น

การติดตั้งระบบ solar battery เพื่อสำรองพลังงาน

แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ เลือกแบบไหนให้เหมาะต่อการใช้งาน?

การพิจารณาเลือกแบตเตอรี่โซล่าเซลล์แบบไหนดี อาจต้องเลือกพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยเฉพาะ 5 ปัจจัยสำคัญต่อไปนี้

 

1. ความจุแบตเตอรี่

ข้อแรกคือการพิจารณาขนาดของแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ หรือความจุ ซึ่งเป็นส่วนที่ปริมาณพลังงานจะถูกกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และปล่อยประจุเข้าไปใช้งาน โดยหน่วยความจุที่ใช้จะเป็น kWh หรือ Wh เช่น ความจุ 7 kWh หรือ 10 Wh ซึ่งความแตกต่างนั้นอาจขึ้นอยู่กับแบรนด์ รุ่น และราคาแบตโซล่าเซลล์ 

 

2. ความต้องการในการใช้งาน

ปัจจัยต่อมาคือ ความต้องการในการใช้งาน เช่น ใช้ในบ้าน อาคาร หรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งแบตเตอรี่ที่ใช้ในระบบโซล่าเซลล์แต่ละประเภทถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น เลือกใช้แบตเตอรี่แบบเจลหรือน้ำ สำหรับระบบขนาดเล็กและการใช้งานทั่วไป หรือ แบตเตอรี่แบบลิเธียมหรือตะกั่ว สำหรับระบบที่ต้องการประสิทธิภาพและความเสถียรที่สูงขึ้น 

 

3. พื้นที่ติดตั้งและการดูแลรักษา

Solar Battery บางประเภทมีขนาดและน้ำหนักมาก จึงต้องพิจารณาจากพื้นที่ติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อให้รองรับกับขนาดของแบตเตอรี่ชนิดนั้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเพิ่มจากการดูแลรักษา เช่น ไม่ต้องการดูแลรักษามาก แบตเตอรี่แบบเจลหรือแบบลิเธียมคือตัวเลือกที่ดี แต่หากพื้นที่จำกัดแบตเตอรี่แบบน้ำค่อนข้างตอบโจทย์มากกว่า แต่อาจต้องแลกมาด้วยการดูแลรักษาที่มากขึ้น

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์ได้ที่ บริการออกแบบติดตั้งบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์

ณัฐภูมิ วิศวกรรม รับติดตั้งระบบโซล่าเซลล์และ solar battery

การดูแลรักษาแบตเตอรี่ใช้กับโซล่าเซลล์

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การดูแลรักษาแบตเตอรี่โซล่าเซลล์อย่างถูกวิธีเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากความเสถียรแล้ว ยังช่วยให้เรื่องความปลอดภัยด้วย โดยการดูแลรักษาที่เหมาะสมสามารถทำได้ ดังนี้ 

  • หมั่นตรวจสอบแรงดันไฟและระดับการชาร์จ
  • ไม่ควรปล่อยให้พลังงานในแบตเตอรี่หมดจนถึง 0%
  • ควรติดตั้งในบริเวณที่แห้ง อากาศถ่ายเทสะดวก และไม่ร้อนจัด
  • ตรวจสอบสภาพภายนอกแบตเตอรี่โซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอ หากแบตเตอรี่บวม มีรอยรั่ว ต้องรีบแจ้งช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดำเนินการแก้ไขโดยด่วน

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ แบตเตอรี่โซล่าเซลล์

แบตเตอรี่ที่ใช้ในระบบโซล่าเซลล์ อาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดไฟไหม้ได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมและการจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรตามมา โดยปัจจัยที่ต้องระวังได้แก่ 

  • อุณหภูมิสูง : หากติดตั้งแบตเตอรี่ในพื้นที่ที่มีความร้อนสูงเกินกว่าค่าที่กำหนด อาจทำให้การทำงานขัดข้องและส่งผลให้แบตเตอรี่สะสมความร้อน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ได้ 
  • การคายประจุลึก : เกิดขึ้นเมื่อแบตเตอรี่ปล่อยประจุมากกว่าแรงดัน ทำให้แบตเตอรี่เสียหาย และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
  • โอเวอร์โหลด : การชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่มากเกินกว่าที่แบตเตอรี่รองรับได้ หากไม่มีระบบป้องกันที่ดีอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อแบตเตอรี่ หรือหนักที่สุดคือเกิดไฟไหม้ได้

ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ และ solar battery

สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ พร้อมแบตเตอรี่คุณภาพสูง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่ ณัฐภูมิ วิศวกรรม

การเลือกติดตั้งแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ให้รองรับกับการใช้งาน และมีความปลอดภัยสูงสุด จำเป็นต้องได้รับการออกแบบและดำเนินการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ แต่หากไม่ได้วางแผนและติดตั้งอย่างปลอดภัย ก็อาจส่งผลเสียต่อการทำงาน หรือร้ายแรงที่สุดก็คือเกิดความเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือทีมวิศวกร เพื่อออกแบบระบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพื้นที่ใช้งาน และความต้องการของคุณมากที่สุดดีกว่า  

สำหรับท่านที่กำลังมองหาที่ปรึกษาหรือบริการรับติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ที่ Nutthaphume Engineering มีบริการออกแบบและติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ครบวงจร พร้อมคำแนะนำเรื่องแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ ทุกขั้นตอนบริหารจัดการโดยทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์จริง พร้อมบริการหลังการขายที่คุณวางใจได้


สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ติดต่อเรา หรือโทร 098-291-4911⁣

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ (FAQ)

ต่อไปนี้คือ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเรื่องแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ ที่เราได้รวบรวมมาไขข้อสงสัยให้ได้ทราบกัน

หากคุณต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนหรือช่วงไม่มีแดด เช่น วันฝนตก ระบบที่มีแบตเตอรี่จะช่วยให้คุณใช้พลังงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องดึงไฟจากการไฟฟ้า

ขึ้นอยู่กับประเภท เช่น แบตเตอรี่แบบตะกั่วส่วนใหญ่ใช้ได้ 2-5 ปี ส่วน Solar Battery แบบลิเธียมใช้งานได้นาน 10-15 ปี ระยะเวลาอาจแตกต่างไปตามการดูแลรักษาและพื้นที่ติดตั้ง

ได้ แต่ต้องตรวจสอบว่าเครื่องควบคุมการชาร์จและระบบป้องกันรองรับแบตเตอรี่แบบลิเธียมหรือไม่ หากไม่แน่ใจควรปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญ

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)