Power Purchase Agreement คืออะไร
Power Purchase Agreement (PPA) คือข้อตกลงว่าด้วยสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ซื้อไฟฟ้า โดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ไฟฟ้าจากพลังงานลม เป็นต้น โดยในสัญญาจะระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขการซื้อ-ขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างสองฝ่าย ระยะเวลาของสัญญา ราคาซื้อ-ขาย การส่งมอบพลังงานไฟฟ้า การรับประกันคุณภาพของพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
สัญญา PPA ช่วยให้ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าสามารถขายไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้งานให้กับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้าได้ ตัวอย่างเช่นการขายพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์โรงงานคืนให้การไฟฟ้า ช่วยให้เจ้าของโรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการทำให้พลังงานไฟฟ้าที่เหลือใช้ไม่สูญเปล่า
ข้อตกลง PPA มีข้อดีอย่างไร

การทำสัญญา PPA มีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดและมีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงานเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า สัญญา PPA เป็นการนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตไปแลกเปลี่ยนเป็นรายได้กลับคืนสู่โรงงาน จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้จำนวนมาก ลดงบประมาณต่อปีได้มหาศาล และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิงด้วย
สัญญา PPA ยังเป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ หันมาสนใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานสะอาดอย่างแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองภายในโรงงานมากขึ้น เนื่องจากสามารถขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้าได้ ถือเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชะลอภาวะโลกร้อน ลดการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรมากขึ้น
ข้อตกลง PPA ในไทยครอบคลุมพลังงานแบบไหนบ้าง
ในประเทศไทย ข้อตกลง PPA ครอบคลุมถึงการซื้อ-ขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตมาจากพลังงานหมุนเวียนหลายรูปแบบ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนได้พิภพ และพลังงานชีวมวล โดยการซื้อ-ขายพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตมาจากแสงอาทิตย์หรือระบบโซล่าเซลล์โรงงาน เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพในการรับแสงอาทิตย์ที่สูงตลอดทั้งปี ประกอบกับมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง
อ่านบทความ: Internal link บทความที่ 50
สิ่งที่ต้องรู้ในการทำข้อตกลง PPA กับการไฟฟ้า

โดยทั่วไปแล้ว หากบ้านหรือโรงงานใดมีการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง หากมีพลังงานไฟฟ้าเหลือจากการใช้งานปกติจะสามารถนำไปขายคืนให้การไฟฟ้าได้ ปัจจุบันหน่วยงานรัฐที่รับซื้อไฟฟ้าคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ซึ่งราคาที่ PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจะอยู่ที่ 2.2 บาท/หน่วย (kWh) และทำสัญญา PPA ต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี
นอกจากนี้ ผู้ยื่นขายไฟฟ้าให้ PEA จะต้องเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์เองทั้งหมด และ PEA จะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบระบบภายหลังผ่านการพิจารณาสัญญา PPA ในราคา 2,000 บาท รวมกับภาษี 7% มูลค่า 140 บาท เป็นค่าดำเนินการรวมภาษีทั้งหมด 2,140 บาท
ข้อตกลง PPA สมัครได้ที่ไหน
สำหรับเจ้าของบ้านที่มีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แล้วสนใจอยากทำสัญญา PPA เพื่อขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (PEA) สามารถยื่นความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ได้ที่ https://ppim.pea.co.th/ โดยมีข้อควรทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
- ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 (บ้านอยู่อาศัย) กับ PEA เท่านั้น
- เน้นให้ติดตั้ง Solar Rooftop ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Self Consumption) และไฟฟ้าที่เหลือสามารถขายไฟฟ้าได้
- กำลังผลิตติดตั้งแผงโซลาร์ (PV) ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อรายสำหรับเชื่อมต่อแบบ 3 เฟส (220/380V) และไม่เกิน 5 kWp ต่อราย สำหรับเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส (220V)
- ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เองทั้งหมด
- PEA จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- ราคาที่ PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน 2.2 บาท/หน่วย (kWh) ระยะเวลา 10 ปี
- ปริมาณรับซื้อรวมในพื้นที่ PEA และ MEA ปี 2564 – 2573 รวมกันปริมาณ 90 เมกะวัตต์ (MW)
- ตรวจสอบรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา และประกาศผล ภายใน 45 วันนับจากวันที่ยื่นคำขอฯ ได้ที่ https://ppim.pea.co.th/project/solar/list
- ผู้สมัครเข้าโครงการต้องแนบบิลค่าไฟฟ้าหรือหลักฐานการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ประกอบด้วย บิลค่าไฟฟ้า 3 เดือนย้อนหลังที่ระบุข้อมูลตรงกับข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล, เลขที่บ้านที่ติดตั้ง, ประเภทใช้ไฟฟ้า หากข้อมูลยังไม่เป็นปัจจุบัน ให้ติดต่อสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ใช้ไฟฟ้า (ตามบิลค่าไฟฟ้า) เพื่อขอแก้ไขข้อมูลให้แล้วเสร็จก่อนยื่นเข้าร่วมโครงการ
ทำไมข้อตกลง PPA จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับโรงงานที่ติดตั้งโซล่าเซลล์

ข้อตกลง PPA เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงาน เพราะสามารถนำไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้งานปกติไปขายคืนให้การไฟฟ้าได้ ทำให้มีรายได้กลับเข้าสู่โรงงานอีกทางหนึ่ง ทั้งยังช่วยทำให้พลังงานไฟฟ้าเหลือใช้ไม่สูญเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์
ข้อตกลง PPA ยังมีอัตราการชำระเงินและระยะเวลาของสัญญาที่ถูกกำหนดไว้ชัดเจน การทำข้อตกลงนี้กับการไฟฟ้าจึงช่วยลดความเสี่ยงในด้านการขาดแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้า และช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาค่าไฟที่ผันผวนในอนาคต ทั้งยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นโรงงานสีเขียวที่ใช้พลังงานสะอาด ถือเป็นการสนับสนุนด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของการทำธุรกิจควบคู่กันไป
อ่านบทความ: 7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
Nutthaphume Engineering ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงานครบวงจร
ข้อตกลง PPA เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับโรงงานที่ต้องการลดค่าไฟฟ้าด้วยการลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงาน ขณะเดียวกับก็เป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่งจากขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้า ช่วยให้ธุรกิจใช้พลังงานสะอาดได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด พร้อมกับช่วยควบคุมต้นทุนและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงาน Nutthaphume Engineering พร้อมให้บริการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์โรงงานแบบครบวงจร ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ยินดีให้คำปรึกษาและออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมกับโรงงานและการใช้งานที่สุด พร้อมทั้งเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์คุณภาพสูงจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ดำเนินการติดตั้งด้วยมาตรฐานสากล และบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง คุณจึงมั่นใจได้ว่าระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งจากเราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา