
สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) คืออะไร?
สถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ คือจุดที่มีอุปกรณ์สำหรับเติมพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่ของรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนหลังจากที่ได้ใช้ไป เหมือนกับหลักการเติมน้ำมันปกติ โดยในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจะสามารถทำได้ที่สถานีชาร์จสาธารณะตามจุดต่าง ๆ แต่ก็มีหลายคนที่เลือกจะติดตั้ง EV Charger ไว้ที่บ้านเลย เพราะสะดวกมากกว่า และในแง่ค่าใช้จ่ายก็อาจจะประหยัดลงได้ด้วย
ต้องบอกว่าการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นสามารถติดตั้งสถานีเอาไว้ที่บ้านได้เหมือนกับการชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ตามปกติ แต่จะต้องมีขนาดมิเตอร์เหมาะสมเพียงพอที่จะรองรับการชาร์จรถยนต์ไปพร้อม ๆ กับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟตกหรือไฟดับ รวมถึงควรแยกระบบไฟฟ้า สายเมน และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรเพื่อความปลอดภัย
ในการติดตั้งเครื่อง EV Charger นั้น นอกจากการขออนุญาตการไฟฟ้าและการเตรียมระบบไฟแล้ว ยังมีเรื่องระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ควรรู้ก่อนติดตั้งด้วยเช่นกัน
หากต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการเตรียมตัวติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า สามารถอ่านได้ที่บทความ “ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านราคาเท่าไหร่ ต้องทำยังไงบ้าง?”

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในไทย มีหัวชาร์จกี่แบบ
เรื่องที่ควรรู้เรื่องแรกคือ “หัวชาร์จรถไฟฟ้า” มีกี่แบบ? ในประเทศไทยการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะนิยมหัวชาร์จอยู่หลายแบบ แบ่งเป็นหัวชาร์จระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีแยกประเภทย่อยอีก ดังนี้
หัวชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
- CHAdeMo : 200A 600V
- CCS COMBO : Type 1 200A 600V, Type 2 200A 1000V
หัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
- Type 1 : 1 เฟส 32A 250V
- Type 2 : 1 เฟส 70A 250V, 3 เฟส 63A 480V
ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 2 ระบบ มีอะไรบ้าง?
อย่างที่เห็นกันในรูปแบบหัวชาร์จรถไฟฟ้าแล้วว่าจะมีระบบไฟฟ้ากระแสตรง และกระแสสลับ ดังนั้นการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็จะมีแรงดันไฟฟ้า 2 ระบบเช่นกัน ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของระยะเวลาการชาร์จ จุดที่สามารถติดตั้งได้ และการรองรับกระแสไฟฟ้าของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ โดยรายละเอียดมีดังนี้
1. ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
ระบบชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรงส่วนใหญ่จะมีสถานีตั้งอยู่ตามปั๊มน้ำมัน หรือสถานีชาร์จเฉพาะ ให้ความรวดเร็วในการชาร์จ สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้ 80% ภายในระยะเวลา 40-60 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดความจุแบตเตอรี่รถยนต์ด้วย โดยระบบชาร์จแบบ DC จะเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100%
2. ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
ระบบชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ จะเหมาะกับการใช้ในการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน เพราะมีต้นทุนถูก ติดตั้งแบบ Wall Charger ได้ ใช้เวลาชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์จาก 0 – 80% ภายในระยะเวลา 4-7 ชั่วโมง

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่รูปแบบ แต่ละแบบทำงานอย่างไร?
ในส่วนของรูปแบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแรกเริ่มมีทั้งหมด 4 รูปแบบ แต่รูปแบบแรกสุดจะเป็นการเสียบชาร์จกับเต้ารับไฟบ้านโดยตรง ซึ่งไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันหรือควบคุมกระแสไฟฟ้า มาตรฐานด้านความปลอดภัยจึงไม่เพียงพอ ปัจจุบันจึงนิยมใช้เพียง 3 รูปแบบเท่านั้น ได้แก่
1. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge)
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบธรรมดาจะเป็นการชาร์จด้วยเต้ารับภายในบ้านที่ติดตั้งใหม่กับตัวรถโดยตรง ซึ่งมี In Cable Control Box ไว้สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้า มีการกำหนดการขนาดที่มิเตอร์รองรับได้และกำลังไฟเพื่อความปลอดภัย โดยจะอยู่ที่ประมาณ 10-16A กำลังไฟไม่เกิน 2.4 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จประมาณ 12-16 ชั่วโมง
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จแบบธรรมดาจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ใช้หัวชาร์จได้ 2 แบบ ได้แก่
- หัวชาร์จ Type 1 : รองรับแรงดันไฟฟ้า 120V หรือ 240V นิยมใช้ในญี่ปุ่นและอเมริกาเหนือ
- หัวชาร์จ Type 2 : รองรับแรงดันไฟฟ้า 120V หรือ 240V นิยมใช้ในยุโรป
2. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว (Double Speed Charge)
การชาร์จไฟฟ้ารถยนต์แบบชาร์จเร็ว เป็นการชาร์จด้วยแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ผ่าน On-Board Charger ภายในรถ รูปแบบตู้ชาร์จมักเป็น Wall Box ซึ่งเป็นที่นิยมในการติดตั้งที่บ้าน มีกระแสไฟฟ้าสูงสุด 32 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จประมาณ 4-7 ชั่วโมง ทั้งนี้ยังเสริมด้านความปลอดภัยมาด้วยระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม เหมาะสำหรับรถไฟฟ้าทั้งแบบ Battery EV (BEV) และ Plug-in Hybrid EV (PHEV)
หัวชาร์จสำหรับการชาร์จเร็ว Double Speed Charge แบ่งออกเป็น 2 แบบเช่นกัน ได้แก่
- หัวชาร์จ Type 1 : นิยมใช้ในญี่ปุ่นและอเมริกา
- หัวชาร์จ Type 2 : นิยมใช้ในยุโรป
3. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบด่วน (Quick Fast Charge)
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ารูปแบบสุดท้าย คือ Quick Fast Charge หรือแบบด่วน จะเป็นการส่งไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เข้าตัวรถได้เลยโดยไม่ผ่าน On-Board Charger โดยใช้เวลาชาร์จจาก 0-80% เพียง 20-40 นาทีเท่านั้น แต่ก็มีข้อจำกัดคือไม่ควรชาร์จรูปแบบนี้บ่อยเกินไป เพราะจะส่งผลเรื่องความเสื่อมของแบตเตอรี่ได้ และใช้ได้แค่กับรถ Battery EV (BEV) หรือรถใช้พลังงานไฟฟ้า 100% เท่านั้น
รูปแบบการชาร์จแบบด่วนมักจะติดตั้งอยู่ที่ปั๊มน้ำมันและสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ไม่นิยมติดตั้งที่บ้านเพราะขนาดหม้อแปลงใหญ่ ราคาสูง
หัวชาร์จที่ใช้กับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Quick Fast Charge มีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
- CHAdeMO (Charge de Move) นิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่น
- CCS (Combined Charging System) แบ่งออกได้เป็น
- Type 1 : 200V – 500V หัวชาร์จขนาดเล็ก นิยมใช้ในอเมริกา
- Type 2 : หัวชาร์จขนาดใหญ่ นิยมใช้ในยุโรป
- GB/T หัวชาร์จที่ผลิตและพัฒนาในจีน
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เลือกบริษัทติดตั้งดีเท่ากับลงทุนคุ้มค่า
การติดตั้ง EV Charger ที่บ้านนั้นค่อนข้างอำนวยความสะดวกได้หลายทาง ถึงแม้จะใช้เวลาชาร์จนานกว่าการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สถานีตามปั๊มน้ำมันก็ไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก เพราะหลายคนก็มักจะชาร์จในช่วงเวลากลางคืนซึ่งใช้ระยะเวลาเพียงพอให้แบตเตอรี่เต็มแล้ว และยังประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องรอต่อคิวชาร์จเหมือนที่สถานีสาธารณะ การติดตั้ง EV Charger ที่บ้านจึงเริ่มเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น
แต่เรื่องใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้านั้นควรที่จะคำนึงถึงความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว การเช็กระบบตัดไฟอัตโนมัติ การเตรียมระบบไฟแยกจากตัวบ้าน จนไปถึงการเดินระบบไฟฟ้าที่ต้องให้ช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญเป็นคนดำเนินการ เพื่อการนี้จึงควรเลือกบริษัทรับติดตั้ง EV Charger ที่มีการรับรองคุณภาพทีมวิศวกร มีประสบการณ์ติดตั้งเดินระบบไฟฟ้า บริการและรับประกันครอบคลุม รวมถึงใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการลงทุนติดตั้งที่ชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ที่บ้านให้ปลอดภัยและคุ้มค่ามากที่สุด

ณัฐภูมิ วิศวกรรม บริการออกแบบระบบ ติดตั้ง ดูแลรักษา จนถึงซ่อมบำรุง ครอบคลุมทุกเรื่องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
เปลี่ยนบ้านของคุณให้เป็นสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์แบบปลอดภัย โดยทีมงานและวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก Nutthaphume Engineering บริการเกี่ยวกับ EV Charger อย่างครบวงจร ด้วยอุปกรณ์มาตรฐานระดับสากลจากแบรนด์ Wallbox นวัตกรรมเพื่อการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ หากคุณกำลังมองหาบริษัทติดตั้ง EV Charger คุณภาพเรายินดีให้คำปรึกษา
ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา