ไฟฟ้าลัดวงจร คืออะไร?
ไฟฟ้าลัดวงจร หมายถึง การที่กระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันต่างกันมาก ๆ ไหลมาอยู่จุดเดียวกันจนเกิดการถ่ายเทพลังงานในปริมาณมาก ซึ่งการถ่ายเทพลังงานจำนวนมากนี้จะทำให้อุณหูภูมิสูงจนอาจเกิดประกายไฟ และเมื่อประกายไฟลุกลามมากขึ้นไปกระทบบริเวณอื่นก็จะส่งผลให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ หรือในบางกรณีหากเป็นไฟฟ้าลัดวงจรจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน เมื่อมีการใช้งานอาจเกิดความเสี่ยงที่จะโดนไฟช็อตหรือไฟดูดด้วยเช่นกัน
อันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรที่ทำให้ไม่ควรมองข้าม

ไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นสาเหตุของอันตรายต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อมนุษย์และทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นไฟช็อต ไฟดูด หรือเหตุไฟไหม้ในกรณีประกายไฟลุกลามขนาดใหญ่จากการถ่ายเทแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกันในจำนวนมาก
ไฟช็อตหรือไฟดูดจะมีสาเหตุมาจากการสัมผัสสื่อนำไฟฟ้าที่กำลังมีกระแสไฟฟ้ารั่ว หรือสัมผัสวงจรไฟฟ้าโดยตรงในขณะที่กำลังมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้แม้ว่าจะสัมผัสเป็นระยะเวลาไม่นานมากก็ตาม เหตุไฟช็อตและไฟดูดสามารถเกิดได้ทั้งภายในครัวเรือนทั่วไป และการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงาน
นอกจากนี้แล้ว อันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรที่สามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุดนั่นคืออัคคีภัย โดยมักจะเกิดบ่อย ๆ ในสถานที่ที่เป็นโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าตลอดเวลาเป็นระยะเวลานาน และถ้าไม่ได้มีการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าประจำปีตามรอบ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะมีการเสื่อมสภาพทั้งภายนอกและบริเวณวงจรแผงไฟฟ้าภายใน จนอาจส่งผลให้เกิดอันตรายที่มากกว่าเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
สาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

สาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรนั้นมาจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ อย่างอุปกรณ์ไฟฟ้าต้นกำเนิด สายไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งแต่ละสาเหตุก็จะมีปัจจัยย่อยที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรแยกอีกเช่นกัน มาดูกันว่าไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากอะไรได้บ้าง
1. ไฟฟ้าลัดวงจรจากอุปกรณ์ไฟฟ้า
ไฟฟ้าลัดวงจรจากอุปกรณ์ไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับรับส่งไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคัตเอาท์ แผงสวิตช์ เต้ารับ หรือสวิตช์ไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องมีอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมาก จึงต้องมีการตรวจสอบว่าตรงไหนขัดข้องหรือชำรุดจนอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้หรือไม่ โดยควรตรวจสอบปัจจัยดังต่อไปนี้
- สวิตช์ไฟหลวม หากสวิตช์ไฟฟ้าหลวมและมีการใช้งานต่อเนื่องอยู่เรื่อย ๆ จะเกิดความร้อนสะสมบริเวณหน้าสัมผัส และเมื่อความร้อนสะสมเป็นระยะเวลานานก็อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
- ใช้งานแผงสวิตช์เกินกำลัง การใช้งานแผงสวิตช์เกิดกำลังลิมิตที่สามารถรับไฟฟ้าได้ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน โดยการใช้งานแผงสวิตช์เกินกำลังส่วนใหญ่จะเป็นการต่อปลายสายมากเกินไป ความร้อนสะสมในบริเวณเดียวกันเป็นจำนวนมากจนนำไปสู่การเกิดประกายไฟและกลายเป็นเหตุเพลิงไหม้ในภายหลัง
- คัตเอาท์ไฟฟ้าเก่าและเสื่อมสภาพ การเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจากการใช้งานคัตเอาท์ไฟฟ้าเก่านั้น ส่วนใหญ่จะมาจากการที่คัตเอาท์รุ่นเก่าไม่มีระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อตรวจเจอไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้กระแสไฟฟ้ายังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ หากไม่ได้มีการดึงคัตเอาท์ลงเพื่อตัดไฟด้วยตนเอง
- เต้ารับชำรุด สาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรที่เกิดจากการใช้งานเต้ารับที่ชำรุดคือจะทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วและเกิดความร้อนสะสมและเกิดเป็นประกายไฟได้ในที่สุด
2. ไฟฟ้าลัดวงจรจากสายไฟฟ้า
สายไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเช่นกัน โดยจะมีทั้งการเสื่อมสภาพของฉนวนไฟฟ้า ขนาดสายไฟฟ้าไม่เหมาะกับกำลังไฟ หรือแม้แต่การใช้งานปลั๊กพ่วงที่มากจนเกินพอดีก็อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ภายในสถานประกอบการหรือโรงงานที่ต้องมีการต่อสายเพื่อใช้งานเครื่องจักรไฟฟ้าจึงต้องหมั่นคอยเช็กความเรียบร้อยของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ด้วย
- ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ หรือฉนวนไฟฟ้าฉีกขาด ทำให้เกิดการสัมผัสกันระหว่างวงจรภายในและเกิดเป็นไฟฟ้าลัดวงจร
- ใช้ปลั๊กพ่วงต่อสายไฟหลายที่ เป็นการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไปจนเกิดความร้อนสูงรวมกันในจุดเดียว
- ใช้สายไฟฟ้าขนาดเล็กไม่พอดีกับแรงดันไฟฟ้า สายไฟไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้าที่เกินกำลังได้จนความร้อนสะสมและเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
- สายไฟฟ้าหลวม ไม่แน่น ทำให้เวลาใช้งานความร้อนจะสะสมบริเวณจุดเชื่อมต่อสายไฟ หรือบริเวณนั้นสายไฟไม่สะอาด ไม่มีฉนวนป้องกันก็ทำให้เกิดความร้อนได้เช่นกัน
- สายไฟไม่ได้มาตรฐาน มอก. มีโอกาสเสื่อมสภาพเร็วและเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
3. ไฟฟ้าลัดวงจรจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
สำหรับภายในครัวเรือนทั่วไป ไฟฟ้าลัดวงจรมักเกิดได้บ่อยกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ไม่ได้มาตรฐาน หรือการต่อสายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แรงดันไฟไม่เหมาะสมกับปลั๊กพ่วงก็มีโอกาสเกิดไฟฟ้าลัดวงจรด้วยเช่นกัน
- เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนเป็นหลัก เช่น กระทะไฟฟ้า เตารีด หรือกาต้มน้ำร้อน จะทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟละลาย เกิดการสัมผัสกันของวงจรไฟฟ้าภายในจนอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดประกายไฟได้
- เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด มีส่วนประกอบภายในเสียหาย
- เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน ระบบไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดได้ง่ายกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ามาตรฐานปกติ
- ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ถูกวิธี เกิดความร้อนสะสมและนำไปสู่เหตุไฟฟ้าลัดวงจร
จะเห็นได้ว่าสาเหตุหลัก ๆ ของไฟฟ้าลัดวงจรจะมาจากการที่ความร้อนสะสมเป็นระยะเวลานาน และเมื่ออุณหภูมิสูงมาก ๆ ก็มีโอกาสที่จะเกิดประกายไฟและกลายเป็นเหตุเพลิงไหม้ในภายหลังได้ ดังนั้นหากมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือการอยู่ในพื้นที่ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา โดยเฉพาะภายในสถานประกอบการ สำนักงานและโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าแรงสูง ก็ต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิดจากระบบไฟฟ้าลัดวงจร และยังเป็นข้อพึงปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโรงงาน : วิธีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในอาคารให้ปลอดภัยและสอดคล้องกับกฎหมาย

ไฟฟ้าลัดวงจร มีวิธีป้องกันอย่างไร
ถึงแม้ว่าไฟฟ้าลัดวงจรจะดูเป็นเรื่องภายในระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้เห็นได้จากภายนอก แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีวิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรเลย หลักการที่สำคัญคือการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือถ้าเป็นพื้นที่ภายในสถานประกอบการขนาดใหญ่ก็ควรตรวจสอบในจุดที่ตนเองได้รับมอบหมายเป็นประจำ เพื่อที่หากมีความผิดปกติใด ๆ จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที และยังมีวิธีอื่น ๆ อีกดังนี้
- ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานผ่าน มอก. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานจะมีฟิวส์ตัดกระแสไฟฟ้าภายในตัว
- เลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์แทนคัตเอาต์ ถ้ากำลังมองหาว่าอุปกรณ์ใดที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นตัวเลือกที่ดีและปลอดภัยอย่างมาก เพราะจะมีระบบตัดไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อตรวจเจอความผิดปกติของการเดินกระแสไฟฟ้า เซอร์กิตเบรกเกอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในอาคารสำนักงาน สถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าแทบตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของสภาพสายไฟ หมั่นตรวจเช็กว่ามีจุดไหนชำรุด ฉีกขาด หรือแตกแห้งกรอบ มีร่องรอยสัตว์แทะ ควรทำการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมก่อนใช้งาน
- ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม เช่น กำลังวัตต์ไฟฟ้าที่รองรับได้ ไม่ต่อปลั๊กพ่วงหลายอันต่อกันเป็นทอด เป็นต้น
- สังเกตความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น อุณหภูมิ กลิ่นไหม้ หรือตรวจสอบว่ามีจุดไหนชำรุดหรือไม่
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการต่าง ๆ วิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่ดีที่สุดคือการตรวจสอบรับรองระบบไฟฟ้าประจำปี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากระบบไฟฟ้าที่ทำงานผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการตรวจสอบ รับรองระบบไฟฟ้าประจำปี โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ บริษัท ณัฐภูมิ วิศวกรรม จำกัด ยินดีให้คำปรึกษาและดำเนินงานอย่างใส่ใจโดยทีมงานมืออาชีพ
วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรมีวิธีปฏิบัติตัวอย่างไร? ในกรณีที่ตรวจเจอว่าระบบไฟฟ้ามีการลัดวงจร มีไฟรั่วหรือเกิดประกายไฟ ควรปฏิบัติดังนี้
- ตัดกระแสไฟฟ้าในบริเวณนั้นทันที
- ห้ามใช้น้ำดับไฟกรณีที่เกิดประกายไฟ เนื่องจากเสี่ยงไฟดูด
- เลือกใช้บริการวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญให้เข้าทำการตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
อ่านเพิ่มเติม : ความสำคัญในการเลือกใช้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูงประจำปี

ณัฐภูมิ วิศวกรรม ให้บริการติดตั้งและดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรอย่างตรงจุด
วางแผน ออกแบบระบบไฟฟ้า และตรวจสอบบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรอย่างมีประสิทธิภาพกับ Nutthaphume Engineering โดยวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญ ทั้งบริการออกแบบติดตั้งวางระบบไฟฟ้า และบริการตรวจไฟฟ้าโรงงานประจำปี ปลอดภัยได้มาตรฐาน ครบเครื่องเรื่องระบบไฟฟ้า โปรดวางใจให้เรา Nutthaphume Engineering บริการ
ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา