ความสำคัญของระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบไฟฟ้าเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทุกกระบวนการผลิตต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่การทำงานของเครื่องจักร ระบบควบคุมอัตโนมัติ ไปจนถึงระบบแสงสว่าง หากระบบไฟฟ้าเกิดปัญหา อาจส่งผลกระทบต่อการผลิต ความปลอดภัยของพนักงาน และความเสียหายต่อเครื่องจักร ดังนั้น การออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้กระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น ลดความเสี่ยงที่เกิดจากปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง และช่วยให้ใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการผลิต ความปลอดภัย และต้นทุนการดำเนินงานของโรงงาน ด้วยเหตุนี้ ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของทุก ๆ ธุรกิจและอุตสาหกรรม
ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมมีกี่ประเภท

โรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องไฟฟ้าในปริมาณมากเพื่อนำไปใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรขนาดใหญ่ในกระบวนการผลิตและมีกระบวนการผลิตต่อเนื่องแทบไม่มีวันหยุด ดังนั้นระบบไฟฟ้าที่ใช้จึงเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟส ที่สามารถส่งกำลังไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส และมีความเสถียรมากกว่า โดยระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย (380V)
ระบบไฟฟ้าประเภทนี้ประกอบด้วยสายไฟ 3 เส้น ได้แก่ L1, L2, L3 ที่มีแรงดันไฟฟ้า 380V ระหว่างสาย และไม่มีสายนิวตรอน ข้อดีคือส่งกำลังไฟฟ้าได้สูงและมีความเสถียร เหมาะสำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูง เช่น มอเตอร์ 3 เฟสขนาดใหญ่ ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงดันไฟฟ้าสูง และเหมาะกับโหลดที่สมดุล ส่วนข้อเสียคือไม่สามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้า 220V สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปได้
การติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ต้องทำโดยช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญ เนื่องจากไม่มีสายนิวตรอน การต่อสายต้องถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนี้ยังต้องมีการดูแลรักษาเน้นที่การตรวจสอบสายไฟและจุดต่อต่าง ๆ ให้แน่นหนา และตรวจสอบความสมดุลของโหลดเพื่อป้องกันปัญหาแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลอย่างสม่ำเสมอ
ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย (380/220V)
ระบบไฟฟ้าประเภทนี้ประกอบด้วยสายไฟ 4 เส้น ได้แก่ L1, L2, L3, N โดยมีสายไฟ 3 เส้นเป็นสายเฟส (380V) และอีก 1 เส้นเป็นสายนิวตรอน ข้อดีคือสามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้ 2 ระดับ คือ 380V ระหว่างสายเฟส และ 220V ระหว่างสายเฟสกับสายนิวตรอน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานที่มากกว่า และเหมาะสำหรับโรงงานที่มีทั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป รวมถึงอาคารพาณิชย์และโรงงานที่ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งาน
การติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สายต้องทำโดยช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญเช่นกัน เพราะการต่อสายนิวตรอนต้องถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุล ขณะที่การดูแลรักษาจะเน้นที่การตรวจสอบสายไฟ จุดต่อ และสายนิวตรอน และตรวจสอบความสมดุลของโหลดเพื่อป้องกันปัญหาแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลและกระแสไฟฟ้าเกิน ข้อเสียของระบบไฟฟ้าประเภทนี้คือการดูแลรักษาต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าระบบ 3 เฟส 3 สาย
อ่านบทความเพิ่มเติม ระบบไฟฟ้า 1 เฟสกับ 3 เฟส คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?
ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมมีส่วนประกอบใดบ้าง

ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมประกอบด้วยส่วนประกอบหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน ดังนี้
- แผงสวิตช์ไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Switchboard) เป็นศูนย์กลางในการควบคุมระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม มีทำหน้าควบคุมและกระจายไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของโรงงาน ภายในแผงสวิตช์จะประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าตัดตอนและป้องกันระบบไฟฟ้า เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ ฟิวส์ อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว และมิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ
- ระบบสายไฟและท่อร้อยสาย หน้าที่นำส่งกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในโรงงาน และป้องกันสายไฟจากความเสียหาย
- หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างระบบไฟฟ้าภายนอกและระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานในโรงงาน เช่น แปลงแรงดันจาก 22 kV เป็น 380V
- อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Protection Devices) ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรต่าง ๆ จากอาการไฟกระชากหรือแรงดันไฟเกิน ซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่าหรือปัญหาในระบบไฟฟ้า ช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับเสียหาย
- ระบบกราวด์ (Grounding System) ทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลลงสู่ดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด ลดความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าช็อต ลดสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่อาจส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ระบบควบคุมและมอนิเตอร์ ใช้ตรวจสอบและควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างทำงานได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ซึ่งระบบนี้อาจควบคุมผ่านห้องควบคุม ระบบ SCADA หรือซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์และรายงานผลการใช้พลังงาน ช่วยให้ผู้ดูสามารถทราบผล ติดตาม และจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับเจ้าของโรงงาน ผู้จัดการโรงงาน หรือผู้รับผิดชอบระบบไฟฟ้าของโรงงาน มีข้อควรรู้ 2 อย่างที่ต้องและให้ความสำคัญเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ การตรวจสอบงานติดตั้ง และการสังเกตและดูแลเฝ้าระวังระบบไฟฟ้า
การตรวจสอบงานติดตั้ง
ผู้ดูแลระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมควรตรวจสอบว่าบริษัทรับติดตั้งระบบไฟฟ้าได้ทำการออกแบบและติดตั้งตามระบบไฟฟ้าถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่ ตรวจสอบว่ามีการต่อสายดินอย่างถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบว่ามีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าเกินและไฟฟ้าลัดวงจรอย่างเหมาะสมหรือไม่ และตรวจสอบขนาดสายไฟให้ถูกต้องและเหมาะสมตามอัตราการใช้พลังงานของเครื่องจักร เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดและความปลอดภัย
การสังเกตและดูแลเฝ้าระวังระบบไฟฟ้า
ผู้ดูแลระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้ากะพริบ มีเสียงดัง หรือมีกลิ่นไหม้ หมั่นตรวจสอบความร้อนของตู้ควบคุมไฟฟ้าและสายไฟ ตรวจสอบความสมดุลของโหลดไฟฟ้า
ตรวจสอบค่ากระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าเป็นประจำ
นอกจากนี้ควรมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ระบบไฟฟ้าในโรงงานอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจสอบและทำความสะอาดตู้ควบคุมไฟฟ้า, จุดต่อสายไฟ, และอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ และควรมีการทดสอบระบบไฟฟ้าอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ
คำแนะนำในการเลือกใช้ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

การเลือกใช้ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมควรพิจารณาจากประเภทของโหลด ความต้องการพลังงาน และความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย (380/220V) มักเป็นที่นิยมมากกว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย เนื่องจากสามารถรองรับโหลดได้หลากหลายมากกว่า ทำให้สามารถจ่ายไฟได้ทั้งเครื่องจักรหนักและอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐาน รองรับการใช้งานที่ยืดหยุ่นและครอบคลุมมากกว่า
ขณะที่ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย (380V) จะเหมาะสำหรับเครื่องจักรบางชนิดที่ใช้ระบบมอเตอร์ 3 เฟส หรือติดตั้งเฉพาะโซนใดโซนหนึ่งภายในโรงงานมากกว่า เนื่องจากเหตุผลด้านการบำรุงรักษาที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
Nutthaphume Engineering ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
การมีระบบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่ง หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความน่าเชื่อถือ Nutthaphume Engineering คือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม เราให้บริการวางแผน ออกแบบระบบไฟฟ้า ตรวจสอบบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า และบริการตรวจไฟฟ้าโรงงานประจำปี ครบวงจร ให้บริการโดยวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญ ปลอดภัยได้มาตรฐาน ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา