
ระบบการทำงานของโซล่าเซลล์ มีประเภทใดบ้าง ?
ก่อนที่จะเข้าสู่การคำนวณราคาแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน มาดูกันว่าโซล่าเซลล์มีการทำงานแบบไหนบ้าง เพราะการทำงานในระบบที่แตกต่างกัน ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงส่งผลเรื่องราคาอีกด้วย ดังนั้นถ้าต้องการคำนวณงบประมาณติดโซล่าเซลล์บ้านให้คุ้มค่ากับการใช้งานมากที่สุด การรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานก็เป็นประโยชน์ไม่น้อย โดยรายละเอียดแต่ละประเภท มีดังนี้
1.โซล่าเซลล์แบบออฟกริด
ระบบการทำงานของโซล่าเซลล์แบบออฟกริด จะเป็นการส่งพลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบไฟฟ้าส่วนกลางของการไฟฟ้า แต่ในการรับกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์แบบออฟกริดนั้นจะต้องเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถรองรับไฟฟ้ากระแสตรงได้เท่านั้น
ข้อดี Off-Grid Solar Rooftop
- ไม่ต้องเสียค่าไฟให้การไฟฟ้า
- มีแบตเตอรี่สำรอง ทำให้มีไฟใช้ตลอดรวมถึงช่วงเวลาฉุกเฉิน
- ผลิตพลังงานได้ด้วยตัวเอง ไม่มีแดดก็ใช้งานได้
- เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือพื้นที่ห่างไกลไฟฟ้า เช่น ภูเขา เกาะ และดอย
ข้อเสีย Off-Grid Solar Rooftop
- ต้นทุนราคาติดตั้งโซล่าเซลล์สูง
- มีอุปกรณ์เสริมเยอะ
- ค่าบำรุงรักษาสูง
2. โซล่าเซลล์แบบออนกริด
ระบบการทำงานโซล่าเซลล์แบบออนกริด จะเป็นการเชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้าส่วนกลาง มี Inverter เพื่อแปลงไฟฟ้าเป็นกระแสสลับ จากนั้นจะส่งเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ซึ่งแปลว่าการติดโซล่าเซลล์บ้านระบบออนกริดจะช่วยประหยัดค่าไฟเพียงบางส่วน และเนื่องจากต้องเชื่อมกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า ทำให้การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบออนกริดจำเป็นจะต้องทำการขออนุญาตกับทางการไฟฟ้าส่วนกลาง
ข้อดี On-Grid Solar Rooftop
- ต้นทุนต่ำ
- ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
- การติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย
- สามารถขายไฟคืนทางการไฟฟ้าได้ โดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส กำหนดโซล่าเซลล์ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ ส่วนระบบไฟฟ้า 3 เฟส กำหนดโซล่าเซลล์ไม่เกิด 10 กิโลวัตต์
- เหมาะกับครัวเรือนและโรงงาน
- ผลิตไฟฟ้าแล้วนำมาใช้ได้ทันที
ข้อเสีย On-Grid Solar Rooftop
- ใช้งานได้แค่เฉพาะเวลามีแดด
- ยังต้องชำระค่าไฟบางส่วนกับทางการไฟฟ้าส่วนกลาง
3. โซล่าเซลล์แบบไฮบริด
ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด เป็นระบบการทำงานที่พัฒนามาจากข้อดีของระบบ On-Grid และ Off-Grid เพื่อให้ผลลัพธ์ของโซล่าเซลล์ออกมามีประสิทธิภาพที่สุด ที่สำคัญคือไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานไฮบริดโซล่าเซลล์จะมีความเสถียรจากการที่มีแหล่งจ่ายไฟหลายที่นั่นเอง
ข้อดี Hybrid Solar Rooftop
- ประหยัดค่าไฟสูงสุด
- สำรองไฟฟ้าในยามฉุกเฉินได้โดยแบตเตอรี่สำรอง
- ระบบไฟฟ้าเสถียร
ข้อเสีย Hybrid Solar Rooftop
- ราคาสูง
- ไม่สามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้า
รีเช็กก่อนติดโซล่าเซลล์ บ้านแบบไหนควรมี
แน่นอนว่าการติดโซล่าเซลล์บ้านนั้นเป็นทางเลือกที่จะทำให้ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกบ้านจำเป็นต้องติดโซล่าเซลล์ บางบ้านอาจจะไม่ได้เสียค่าไฟมากต่อเดือนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม โซล่าเซลล์นั้นมีจุดประสงค์คือความคุ้มค่า ดังนั้นก่อนตัดสินใจติดตั้ง ลองดูว่าสถานที่ที่ต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เข้าข่ายเช็กลิสต์ดังต่อไปนี้หรือไม่
- ต้องการใช้ไฟตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในเวลากลางวันและจำเป็นต้องเปิดแอร์ เช่น บ้านที่มีสัตว์เลี้ยงขนยาว, ร้านค้า, ร้านอาหาร, บ้านที่มีคนอยู่อาศัยทั้งวันหรือทำงานที่บ้าน, โฮมออฟฟิศ, บ้านที่มีห้องเก็บสินค้าแล้วต้องควบคุมอุณหภูมิ
- บ้านที่ค่าไฟแพง อาจเป็นบ้านที่ต้องชำระค่าไฟมากกว่า 3,000 บาทต่อเดือน ในกรณีนี้ก็สามารถเลือกติดโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟในระยะยาวได้
- ต้องการใช้พลังงานสะอาด ลดมลภาวะ ในข้อนี้อาจจะต้องมีพื้นที่สำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างเพียงพอ รับน้ำหนักได้เหมาะสม โดยขนาดคร่าว ๆ ที่เหมาะสำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านคือ 7.7 ตารางเมตรขึ้นไป และควรรับน้ำหนักได้ 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

วิธีคำนวณงบประมาณติดโซล่าเซลล์บ้าน
การติดโซล่าเซลล์บ้านนั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในก้อนเดียว ถึงแม้ว่าเมื่อมองภาพรวมในระยะยาวแล้วจะเห็นว่าสามารถประหยัดค่าไฟลงไปได้มากกว่าบ้านที่ไม่ติด แต่เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำมานับนิ้วได้ ต้องมีการคำนวณหลายอย่าง ทั้งปริมาณการใช้ไฟ ค่าการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่เท่ากันในเวลากลางวันและกลางคืน ทำให้หลายคนคำนวณไม่ถูกว่าหากติดโซล่าเซลล์บ้านแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่
อันดับแรก เราสามารถคำนวณปริมาณการใช้ไฟในบ้านได้อย่างคร่าว ๆ ด้วยการดูบิลค่าไฟ หรืออ่านค่ามิเตอร์ 2 เวลา ได้แก่ ช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และหลังพระอาทิตย์ตก เพื่อนำค่ามิเตอร์มาหักลบกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ อ่านค่ามิเตอร์ตอน 6 โมงเช้า และอ่านอีกทีตอน 5-6 โมงเย็น จะได้ปริมาณการใช้ไฟเป็นหน่วย และเมื่อได้หน่วยการใช้งานไฟฟ้าแล้วก็นำมาคำนวณตามอัตราค่าไฟที่ชำระตามจริง
หลังจากคำนวณปริมาณการใช้ไฟและจำนวนเงินแล้ว ก็มาคำนวณความคุ้มค่าของการติดโซล่าเซลล์บ้านตามตัวแปรแต่ละอย่าง ได้แก่ ปริมาณแสงแดด, กำลังการผลิตไฟฟ้า, ระยะเวลาการผลิต และอัตราค่าไฟฟ้าปกติ จากนั้นมาลองคิดตามตัวอย่างวิธีคำนวณด้านล่าง
ตัวอย่างการคำนวณราคาติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน
อันดับแรก เราควรเลือกกำลังผลิตไฟของแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับบ้านและคุ้มทุนที่สุด โดยจะนำตัวเลขส่วนต่างของมิเตอร์ตอนเช้า และตอนเย็นประมาณ 4 วันมาคิดคำนวณ ดังตัวอย่าง
วันที่ 1 ส่วนต่างมิเตอร์เช้า-เย็น 45
วันที่ 2 ส่วนต่างมิเตอร์เช้า-เย็น 50
วันที่ 3 ส่วนต่างมิเตอร์เช้า-เย็น 50
วันที่ 4 ส่วนต่างมิเตอร์เช้า-เย็น 55
จะได้เป็น 45+50+50+55 = 200/4 เท่ากับว่าใช้ไฟแต่ละวันประมาณ 50 หน่วยโดยเฉลี่ย
ใน 1 วันจะสามารถรับปริมาณแสงแดดสูงสุดได้ประมาณ 5 ชั่วโมง ดังนั้นขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมกับบ้านที่ใช้ไฟตามตัวอย่างจะอยู่ที่ 50/5 = 10 กิโลวัตต์ จึงจะคุ้มทุนที่สุด
หลังจากได้ขนาดกำลังไฟที่เหมาะสมแล้ว ก่อนอื่นให้ลองแยกตัวเลขของตัวแปรต่าง ๆ ออกให้ชัดเจน ตามตัวอย่างดังนี้
ค่าติดโซล่าเซลล์แบบออนกริด (โดยประมาณ) : 290,000 บาท
ขนาดกำลังไฟ 10 กิโลวัตต์
ตัวอย่างหน่วยการใช้ไฟต่อเดือน 1,500 หน่วย
ใช้ไฟช่วงกลางวันโดยประมาณ 800 หน่วย
อัตราค่าไฟต่อหน่วย 4.5 บาท
เมื่อได้ตัวเลขดังข้างต้นแล้ว เราจะมาคำนวณความคุ้มค่าในการใช้งานโซล่าเซลล์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ ความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของโซล่าเซลล์, ส่วนต่างค่าไฟที่ลดลง, จุดคุ้มทุน โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้
- คำนวณค่าความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop)
ขนาดกำลังไฟแผงโซล่าเซลล์ x ระยะเวลาการผลิต = 10 x 4.5 = 45 หน่วยต่อวัน 1,350 หน่วยต่อเดือน
- คำนวณส่วนต่างค่าไฟที่ประหยัดลงจากการใช้โซล่าเซลล์
จากตัวอย่างการใช้ไฟ จะเห็นว่าค่าไฟตามปกติที่ต้องชำระต่อเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 6,750 บาท เมื่อติดโซล่าเซลล์บ้าน จะช่วยลดค่าไฟได้ 1,350 x 4.5 = 6,075 บาทต่อเดือน 72,900 บาทต่อปี จากที่ต้องชำระต่อเดือนอยู่ที่ 6,750 บาท ก็จะเหลือเดือนละ 675 บาท
- คำนวณจุดคุ้มทุนหลังจากติดโซล่าเซลล์บ้าน
จากราคาแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้านในตัวอย่างจะอยู่ที่ 290,000 บาท ประหยัดค่าไฟต่อปีได้ 290,000 / 72,900 = 3.9 ดังนั้นจุดคุ้มทุนของการติดโซล่าเซลล์จะอยู่ที่ประมาณ 4 ปี
ติดโซล่าเซลล์บ้าน มีข้อดียังไง?
ทราบวิธีคำนวณงบประมาณและความคุ้มค่าของการติดโซล่าเซลล์บ้านกันไปแล้ว หลายคนน่าจะอยากทราบข้อดีของการติดโซล่าเซลล์ว่ามีอะไรบ้าง
- ประหยัดค่าไฟได้ในระยะยาว
- เข้าถึงพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงได้
- เป็นพลังงานสะอาด ไม่มีกระบวนการที่ก่อมลภาวะ เพราะเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
- อายุการใช้งานยาวนาน
- มีความปลอดภัยสูง
- ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพคนและสัตว์

ข้อควรรู้ก่อนการติดโซล่าเซลล์บ้าน
แน่นอนว่าการติดโซล่าเซลล์บ้านเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่พอสมควร ดังนั้นมาดูกันว่าก่อนจะติดโซล่าเซลล์ มีอะไรที่ควรรู้บ้าง เพื่อที่จะไม่พลาดหรือมีความล่าช้าในการดำเนินงานในภายหลัง
1. ติดโซล่าเซลล์บ้าน ต้องขออนุญาตก่อน
ในการติดโซล่าเซลล์จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะการติดโซล่าเซลล์จะต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสม ในส่วนนี้อาจให้บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีความเชี่ยวชาญช่วยอำนวยความสะดวกแทนได้
2. ตรวจสอบปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
เพื่อที่จะเลือกซื้อโซล่าเซลล์ได้ถูกต้องและคุ้มค่า เราควรที่จะทราบว่าบ้านของเราใช้ไฟเท่าไหร่ต่อวัน โดยอาจใช้วิธีจดมิเตอร์และคำนวณส่วนต่างตามวิธีข้างต้นเพื่อนำไปปรึกษากับบริษัทที่รับติดตั้งโซล่าเซลล์
3. สอบถามค่าใช้จ่ายติดตั้งกับบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์
เมื่อได้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้ว ให้นำมาปรึกษากับบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อตรวจสอบว่าแผงโซล่าเซลล์ขนาดเท่าไหร่ที่เหมาะกับบ้าน เพื่อให้การติดโซล่าเซลล์บ้านนั้นคุ้มค่าที่จะลงทุนที่สุด
4. คำนึงถึงการบำรุงรักษาหลังติดโซล่าเซลล์บ้าน
ขึ้นชื่อว่าสิ่งของเครื่องใช้อย่างไรก็ต้องมีการดูแลรักษา โดยเฉพาะกับโซล่าเซลล์ที่จะติดอยู่ภายนอก มีโอกาสเจอลมฝน หรือฝุ่นละอองมาเกาะได้ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้าลดลง ดังนั้นจะต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ และให้ทีมช่างซ่อมบำรุงคอยมาตรวจเช็กตามรอบอย่างสม่ำเสมอ
อ่านเพิ่มเติม: 5 คุณสมบัติที่ต้องมีของบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานที่น่าเชื่อถือ
ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บ้านกับ ณัฐภูมิ วิศวกรรม บริการจริงใจด้วยทีมงานคุณภาพ
ให้การติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ Nutthaphume Engineering ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง ดูแลรักษา และซ่อมบำรุงระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร บริการคุณภาพด้วยทีมช่างวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ อุปกรณ์ได้มาตรฐานพร้อมติดตั้ง อยากประหยัดค่าไฟ นึกถึงเรา
ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา