Wallbox Pulsar Plus คืออะไร?
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ EV Charger Wallbox รุ่น Pulsar Plus กันก่อน โดยเครื่องนี้คือเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในบ้าน ที่มาพร้อมเทคโนโลยีสมัยใหม่ รองรับการเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi และ Bluetooth พร้อมฟีเจอร์ Dynamic Power Management และสามารถติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับได้
จุดเด่นของ Wallbox Pulsar Plus
- ขนาดเล็ก กะทัดรัด ติดตั้งได้แม้มีพื้นที่จำกัด
- ควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน myWallbox ได้จากสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต
- ตั้งเวลาชาร์จ เลือกระดับกำลังไฟได้ และดูข้อมูลสถิติการใช้งานย้อนหลัง
- มีมาตรฐานป้องกันน้ำและฝุ่นระดับ IP54 / IK10
- มีระบบคำนวณค่าไฟภายในตัว
- รองรับการชาร์จไฟฟ้าแบบ Mode 3 (AC Charging)
อ่านบทความที่น่าสนใจ : เปิดข้อดี EV Charger สุดคุ้ม! Wallbox รุ่น Pulsa Plus ที่ตอบโจทย์ทั้งใช้งานที่บ้าน และลงทุนสำหรับธุรกิจ
ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
การติดตั้ง EV Charger ต้องตรวจสอบโครงสร้างระบบไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย และควรพิจารณาถึงตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม โดยสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่มขั้นตอนติดตั้งมีดังนี้
สิ่งที่ต้องตรวจสอบเบื้องต้น
ระบบไฟบ้าน
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบไฟฟ้าโดยรวม ต้องมีสายดินที่ได้มาตรฐาน และมีการเดินสายแยกเฉพาะสำหรับวงจร EV Charger
ตู้โหลด (MDB)
ตรวจสอบตู้ MDB เพื่อประเมินความสามารถในการรองรับโหลดสูงสุด ควรติดตั้งเบรกเกอร์แบบ RCBO
สายไฟ
แนะนำขนาด 6–10 ตร.มม. หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับระยะทาง
อินเทอร์เน็ต
การใช้งานแอป myWallbox จำเป็นต้องมีสัญญาณ Wi-Fi เข้าถึงบริเวณจุดติดตั้ง หรือใช้ Bluetooth ในกรณีไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
พื้นที่ติดตั้ง
แม้มีคุณสมบัติป้องกันน้ำและฝุ่น แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งในจุดที่มีความชื้นสูงหรือโดนแสงแดดโดยตรง เพื่อยืดอายุการใช้งานและลดความเสี่ยงไฟฟ้าขัดข้อง
อุปกรณ์ติดตั้ง
เตรียมอุปกรณ์ติดตั้งให้พร้อม เช่น ตลับเมตร ถุงมือ สว่านเจาะ ค้อนยาง สายไฟ เครื่องวัดระดับแนวราบ และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับงานเจาะและติดตั้ง
ขั้นตอนการติดตั้ง EV Charger Wallbox รุ่น Pulsar Plus
เมื่อตรวจสอบพื้นที่และความเข้ากันของโครงสร้างไฟฟ้าในบ้านแล้ว การติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน สำหรับ Wallbox รุ่น Pulsar Plus สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ปิดระบบไฟหลัก
เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ก่อนทำการติดตั้งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการเปิดระบบไฟฟ้า และควรปิดระบบไฟฟ้าหลักภายในบ้านทั้งหมดก่อน
2. ยึด Backplate เข้ากับผนัง
เลือกตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้ง Home Charger โดยต้องเป็นจุดที่มีตำแหน่งของสายไฟจากแหล่งจ่ายไฟเข้าสู่ตัวเครื่องได้ จากนั้นให้ใช้ตลับเมตรวัดระดับที่เหมาะสมในการติดตั้ง โดยความสูงที่เหมาะสมอยู่ที่ 120–150 ซม. แล้วนำแผ่นยึด Backplate มาวางทาบในตำแหน่งที่ต้องการ พยายามคุมความตรงด้วยเครื่องวัดระดับแนวราบ จากนั้นให้ใช้ดินสอกำหนดจุดเจาะรูแล้วใช้สว่านเจาะพร้อมติดพุก ก่อนจะใช้สกรูยึด Backplate กับผนังให้แน่น
3. เดินสายไฟเข้าจุดเชื่อมต่อ
เปิดฝาครอบ EV Charger Wallbox แล้วถอดสายริบบอนออกจากฝาครอบโดยกดที่ตัวล็อกด้านข้าง จากนั้นนำเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าส่วนวงจรแขวนเข้ากับตัวยึด โดยให้สายไฟที่มาจากแหล่งจ่ายไฟอยู่ในจุดที่กำหนดไว้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลอกร้อยสายไฟปิดส่วนที่เสียบสายไฟไว้ทั้งหมด จากนั้นให้ทำการติดตั้งสายไฟเข้าจุดเชื่อมต่อ โดยนำสาย L (Phase), N (Neutral) และ PE (Ground) ต่อเข้าจุด Terminal ตามตำแหน่งที่ระบุในคู่มือ แล้วให้เลือกกำลังไฟที่เหมาะสม (สามารถดูได้จากคู่มือ)
*ควรตรวจสอบตำแหน่งต่อสายไฟให้ละเอียด เนื่องจากการติดตั้งสำหรับไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส แตกต่างกัน
ไม่แน่ใจเรื่องเฟสไฟฟ้าที่บ้าน ติดต่อวิศวกรไฟฟ้า จาก NP Engineering ได้ทันที
4. ติดตั้งเครื่องฝาครอบ Wallbox
เชื่อมต่อสายริบบอนกับฝาครอบ จากนั้นยึดฝาครอบด้านหน้าด้วยสกรูให้แน่นทุกจุด แล้วตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวเครื่องแนบกับตัวยึดผนังและไม่มีรอยรั่วที่ช่องเดินสาย หากตรวจสอบแล้วไม่มีความเสียหายหรือจุดที่ผิดปกติ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนของการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
5. เปิดไฟ และเชื่อมต่อกับแอป
หลังทำการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าเข้ากับผนังเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปิดเบรกเกอร์ แล้วรอให้ LED แสดงสถานะเป็นสีเขียว แล้วทำการเชื่อมต่อ EV Charger ผ่านแอปพลิเคชัน myWallbox เพื่อทำการลงทะเบียนเครื่องบนแอปพลิเคชันให้พร้อมต่อการควบคุมและใช้งาน ขั้นตอนนี้ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ตัวเครื่องมีไฟสถานะสีเขียวแสดงอยู่ถึงจะเป็นการเชื่อมต่อที่ถูกต้อง
สำหรับแอปพลิเคชันบน iOS ดาวน์โหลดที่นี่
สำหรับแอปพลิเคชันบน Android ดาวน์โหลดที่นี่
6. ทดสอบการชาร์จ
ทำการทดสอบระบบ Home Charger โดยการเสียบสายชาร์จเข้ากับ Wallbox Pulsar Plus แล้วต่อหัวชาร์จรถไฟฟ้ากับรถยนต์ EV จากนั้นลองตรวจสอบสถานะการชาร์จในแอป เช่น กำลังไฟ เวลาคงเหลือ และปริมาณที่จ่ายไฟไปแล้ว หากสามารถใช้งานได้ตามปกติก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง
ข้อควรรู้เพิ่มเติมสำหรับการติดตั้ง EV Charger
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด ต่อไปนี้คือข้อควรรู้เพิ่มเติมหลังการติดตั้ง EV Charger
- หากต้องการใช้ Dynamic Load Balancing ควรติดตั้ง Power Boost ร่วมกับมิเตอร์พลังงาน
- ควรอัปเดตเฟิร์มแวร์ของเครื่องผ่านแอปเป็นระยะ เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างเสถียรและปลอดภัย
- กรณีที่ต้องการว่าจ้างผู้ติดตั้ง แนะนำให้พิจารณาผู้ติดตั้งที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานรับรอง เพื่อความปลอดภัยตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
ติดตั้ง EV Charger ให้ปลอดภัยในทุกขั้นตอน โดยวิศวกรไฟฟ้าจาก ณัฐภูมิ วิศวรกรรม
Wallbox รุ่น Pulsar Plus เป็น EV Charger ที่ออกแบบมาอย่างชาญฉลาดสำหรับการใช้งานที่บ้าน ติดตั้งง่าย ควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน และมีระบบความปลอดภัยที่ครบครัน การติดตั้งที่ถูกต้องตามคู่มือของผู้ผลิต ไม่เพียงช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่อง แต่ยังช่วยปกป้องระบบไฟบ้านและลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าขัดข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน แต่ยังไม่แน่ใจเรื่องจุดติดตั้ง และกังวลเรื่องความปลอดภัย Nutthaphume Engineering มีบริการติดตั้ง EV Charger แบบครบวงจร ตั้งแต่ประเมินหน้างาน เดินสายไฟ ติดตั้งอุปกรณ์ ไปจนถึงการทดสอบและให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการใช้งาน พร้อมบริการหลังติดตั้ง ให้คุณชาร์จรถได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจในทุกครั้งที่ใช้งาน
ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ติดต่อเรา หรือโทร 098-291-4911
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดตั้ง Wallbox Pulsar Plus EV Charger
ต่อไปนี้คือคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับงานติดตั้ง EV Charger ‘Wallbox’ รุ่น Pulsar Plus ที่เราได้รวบรวมมาตอบให้ได้ทราบกัน
1. Wallbox Pulsar Plus ติดตั้งนอกบ้านได้ไหม?
ได้ หากติดตั้งในจุดที่มีหลังคาและเป็นจุดที่ EV Charger ไม่ได้รับแสงแดดหรือความชื้นโดยตรง จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้
2. ต้องตั้งค่ากำลังไฟที่เครื่องหรือในแอป?
สามารถตั้งค่ากำลังไฟได้จากตัวเครื่องและแอปพลิเคชัน myWallbox
3. การตั้งรหัสล็อกเครื่องสำคัญหรือไม่?
สำคัญมาก โดยเฉพาะกรณีที่เครื่องติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ เช่น ที่จอดรถหน้าบ้าน เพื่อป้องกันคนอื่นนำไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. หากไม่มี Wi-Fi ที่จุดติดตั้ง จะใช้งานได้ไหม?
ใช้ได้ โดยเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth และสามารถควบคุมพื้นฐานได้ตามปกติ แต่จะไม่สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ขั้นสูง เช่น การดูสถิติย้อนหลัง หรือการอัปเดตเฟิร์มแวร์ผ่านระบบออนไลน์