1. วิเคราะห์ความต้องการสถานีชาร์จรถไฟฟ้าของผู้ใช้และลูกค้าเป้าหมาย
ปัจจัยแรก คือ การวิเคราะห์ความต้องการ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ของกลุ่มผู้ใช้รถไฟฟ้า รวมถึงลูกค้าเป้าหมายที่จะเข้ามาใช้บริการภายในรีสอร์ทหรือโรงแรม โดยอาจจะพิจารณาจาก 3 ข้อสำคัญ ดังนี้
จำนวนลูกค้า EV ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
ลองทำการประเมินเบื้องต้นดูว่า มีสัดส่วนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ใช้รถ EV จำนวนเท่าไร และลองคาดการณ์ดูว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมากเพียงใดในอนาคต
พฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้าที่ใช้รถ EV
ควรสำรวจหรือเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อดูว่า คาดหวังอย่างไรกับ EV Station บ้าง เช่น ความเร็วในการชาร์จ ความสะดวก ความปลอดภัย และราคาค่าบริการ
วิเคราะห์คู่แข่งในพื้นที่
ลองทำการสำรวจพื้นที่โดยรอบดูว่า คู่แข่งมีจุดชาร์จรถไฟฟ้าหรือไม่ และมีจุดแข็งจุดอ่อนตรงไหน เพื่อนำมาใช้วางกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหนือกว่า
อ่านบทความที่น่าสนใจ : หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีกี่ประเภท ต่างกันอย่างไร ใช้งานแบบไหน?

2. เลือกประเภทและจำนวน EV Charger ให้เหมาะกับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
เมื่อประเมินความต้องการแล้ว ให้ลองพิจารณาจากประเภทของ EV Charger สำหรับใช้ที่จุดชาร์จรถไฟฟ้า เพราะเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าแต่ละประเภท มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่แตกต่างกัน ดังนี้
ประเภทเครื่องชาร์จ
- AC Charger : เครื่องชาร์จที่ใช้เวลาชาร์จนานกว่าแบบ DC ค่อนข้างเหมาะสำหรับการชาร์จค้างคืนมากกว่า มักเป็นรูปแบบหัวชาร์จเดี่ยว
- DC Charger : เครื่องชาร์จที่ใช้ระยะเวลาชาร์จน้อย ส่วนใหญ่แล้วเป็นรูปแบบ 2 หัวจ่าย มีราคาสูงกว่า AC Charger แต่รองรับการใช้งานจำนวนมากได้ดีกว่า
จำนวนหัวชาร์จ
ควรคำนวณจากจำนวนห้องพัก และคาดการณ์สัดส่วนลูกค้าที่ใช้รถไฟฟ้ามาเข้าพักในช่วงพีค
คุณภาพและฟีเจอร์เสริม
เลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ และมีระบบบริหารจัดการพลังงาน สามารถใช้งานควบคู่กับแอปพลิเคชันได้ และรองรับการอัปเกรดในอนาคต
ข้อแนะนำ : เลือกเครื่องชาร์จไฟฟ้าจากแบรนด์ที่มีการรับประกัน และผู้ให้บริการติดตั้งที่มีบริการหลังการขาย เชื่อถือได้ พร้อมดำเนินการติดตั้งตามมาตรฐานทุกขั้นตอน
ชมผลิตภัณฑ์ : เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

3. ประเมินโครงสร้างพื้นฐานและต้นทุนการลงทุนสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
การทำจุดชาร์จรถไฟฟ้า ต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าระบบไฟฟ้าเดิมที่ใช้ภายในรีสอร์ท มีความเหมาะสมหรือรองรับกับการติดตั้ง EV Charger หรือไม่ รวมถึงต้นทุนอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในการลงทุน ดังนี้
ระบบไฟฟ้าเดิม
ตรวจสอบว่ารองรับการติดตั้ง EV Charger ได้หรือไม่ หากไม่ ต้องวางแผนอัปเกรดหม้อแปลงหรือระบบไฟให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง
จุดติดตั้งที่เหมาะสม
ควรเป็นพื้นที่ใกล้ทางเข้า-ออกล็อบบี้ หรือเป็นพื้นที่กว้างที่รองรับการใช้งานพร้อมกันได้ และต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัย ไม่รบกวนทัศนียภาพ
ต้นทุนรวม
ควรมีการคำนวณที่ครอบคลุมทั้งค่าซื้อเครื่อง ค่าติดตั้ง งานโยธา ค่าบำรุงรักษา ค่าไฟฟ้ารายเดือน และต้องมีการวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือนล่วงหน้า 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
วิเคราะห์ ROI
ประเมินว่า EV Station จะช่วยเพิ่มยอดจองห้องพัก หรือเพิ่มรายได้จากค่าชาร์จได้มากเพียงใด
ข้อแนะนำ : หากมีพื้นที่ขนาดใหญ่ในการติดตั้ง EV Charger ควรวางแผนโครงสร้างเผื่อการขยายจุดชาร์จในอนาคต
4. วางแผนการจัดการและการดำเนินงานหลังติดตั้ง
วางแผนล่วงหน้าหลังการติดตั้ง EV Charger และทำสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทั้งรูปแบบการให้บริการและการบำรุงรักษาเบื้องต้น ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เห็นภาพรวมด้านค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนี้
นโยบายให้บริการ
ให้บริการแบบเก็บค่าชาร์จ หรือให้บริการฟรีสำหรับลูกค้าที่เข้าพัก และมีการจำกัดเวลาในการชาร์จหรือไม่
ระบบการชำระเงิน
รองรับการชำระเงินได้หลายรูปแบบ เช่น QR Payment บัตรเครดิต หรือการชำระผ่านแอปพลิเคชัน
แผนบำรุงรักษา
ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบเป็นระยะเพื่อให้เครื่องชาร์จพร้อมใช้งานเสมอ
การฝึกอบรมพนักงาน
เพื่อให้เข้าใจถึงฟังก์ชันการใช้งาน และช่วยให้คำแนะนำแก่ลูกค้า พร้อมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้อย่างมืออาชีพ

5. วางแผนการตลาดและการสื่อสาร
เพื่อเพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดผู้เข้าพัก หรือโอกาสทำกำไรจากผู้เข้าใช้บริการในสถานีชาร์จรถไฟฟ้า การวางแผนด้านการสื่อสารและการตลาดคือปัจจัยสำคัญ ซึ่งอาจใช้ 3 วิธีต่อไปนี้
ประชาสัมพันธ์บริการ EV Station
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานีชาร์จผ่านเว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย, แอปจองโรงแรม และแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้รถ EV
สร้างจุดขายที่แตกต่าง
มีสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรม เช่น ชาร์จฟรีเมื่อจองเข้าพักเป็นครั้งแรก หรือมีโปรแกรมสะสมแต้มเพื่อแลกรับส่วนลด
สร้างพันธมิตร
ขอความร่วมมือกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าช่วยโปรโมทที่พักและจุดชาร์จ EV หรือบริษัทเครือข่าย EV Station เพื่อขยายฐานลูกค้า
ข้อแนะนำ : สามารถนำเสนอความเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดได้ เมื่อใช้ EV Charger ที่มีระบบรองรับการใช้พลังงานจากแผงโซล่าเซลล์
6. ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะลงทุนทำสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ก่อนเริ่มติดตั้งควรศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย รวมถึงการให้ความสำคัญกับมาตรฐานอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ดังนี้
การขออนุญาต
ขออนุญาต อ.1 จากหน่วยงานท้องถิ่น และปฏิบัติตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า
ติดตั้งตามมาตรฐานความปลอดภัย
ตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์ที่ใช้ มีการรับรองตามมาตรฐาน IEC และเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศไทยด้านการติดตั้ง EV Charger หรือไม่
ข้อแนะนำ : เลือกติดตั้งจุดชาร์จรถไฟฟ้า โดยบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านการติดตั้ง และดำเนินการขออนุญาต EV Station ทุกขั้นตอนได้แบบครบวงจร ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการได้

7. วางแผนรองรับการขยายสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในอนาคต
การใช้รถไฟฟ้ายังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ควรมีการวางแผนเพื่อรองรับจำนวนผู้เข้าพักที่ใช้รถไฟฟ้าที่อาจเพิ่มขึ้นด้วย เช่น
พื้นที่เผื่อขยาย
วางแบบผังโครงสร้าง และออกแบบเผื่อเพิ่มจุดติดตั้ง EV Charger และจำนวนหัวชาร์จในอนาคต
รองรับเทคโนโลยีใหม่
ควรศึกษาและติดตามข่าวสารวงการ EV Charger อยู่เสมอ เพื่อให้ทราบถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อโอกาสในการเข้าใช้งานของลูกค้าในอนาคต เช่น ระบบ Smart Charging และ Dynamic Load Management
วางแผนติดตั้ง สถานีชาร์จรถไฟฟ้า อย่างมืออาชีพ กับ ณัฐภูมิ วิศวกรรม
การลงทุนใน สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สำหรับรีสอร์ทหรือโรงแรมเป็นการเสริมศักยภาพธุรกิจอย่างยั่งยืน แต่ต้องอาศัยการวางแผนที่รัดกุมและครอบคลุม เพื่อให้การลงทุนคุ้มค่าทั้งในเรื่องงบประมาณ และการส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงการสร้างโอกาสเพิ่มยอดจองจากกลุ่มผู้เข้าพักที่ใช้รถไฟฟ้าได้มากขึ้น การประเมินภาพรวมของค่าใช้จากปัจจัยเหล่านี้ คือวิธีที่ช่วยให้ผู้ประกอบทราบว่าการลงทุนกับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ต้องลงทุนเท่าไหร่ และบริหารค่าใช้จ่ายได้คุ้มค่ามากที่สุด
สำหรับเจ้าของธุรกิจรีสอร์ท หรือโรงแรม ที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในการวางแผน ออกแบบ ติดตั้ง และดูแลระบบ EV Station แบบครบวงจร ณัฐภูมิ วิศวกรรม มีทีมวิศวกรมืออาชีพ พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานระดับอุตสาหกรรม และประสบการณ์ที่เชื่อถือได้ ยินดีให้บริการในทุกขั้นตอน เพื่อโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา หรือเลือก โทร.098-291-4911 และแอดไลน์ @npeng ได้เลย!