ปัญหาที่พบในโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ก่อน PM ระบบไฟฟ้า
ก่อนที่จะวางแผน PM ระบบไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ โรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็งแห่งนี้ ต้องประสบปัญหาหลายด้านเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่
- ไฟฟ้าตกและดับบ่อย : ส่งผลให้เครื่องจักรหยุดทำงานโดยไม่คาดคิด และไม่มีการเตรียมความพร้อมเรื่องเครื่องสำรองไฟ
- กระแสไฟไม่เสถียร : ทำให้เครื่องจักรบางส่วนทำงานผิดปกติ และต้องคอยแก้ไขอยู่บ่อยครั้ง
- ระบบทำความเย็นขัดข้อง : ทำให้อุณหภูมิไม่คงที่ ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารแช่แข็ง
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากปัญหาระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น ส่งผลให้โรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็งแห่งนี้ต้องได้รับผลกระทบในหลายด้าน ดังนี้
- สูญเสียรายได้เฉลี่ย 50,000 บาท/ชั่วโมง จากการหยุดผลิต
- ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมฉุกเฉินสูงถึง 20,000 – 50,000 บาท/ครั้ง
- วัตถุดิบเสียหายจากห้องเย็นที่ไม่ทำงาน คิดเป็นมูลค่า 200,000 – 300,000 บาท/ครั้ง
- คุณภาพของอาหารแช่แข็งโดยรวมแล้วมีคุณภาพลดลงอย่างต่อเนื่อง
- พนักงานเริ่มเสียกำลังใจ และมีความกังวลในการทำงานจากระบบที่ไม่เสถียร
เมื่อขาดการดูแลและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงงานแห่งนี้ต้องเผชิญกับระบบไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ย 3-4 ครั้ง/เดือน และเกิดความสูญเสียที่อาจสูงได้ถึงหลักล้านบาทต่อปี
อ่านบทความที่น่าสนใจ : การบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงควรใช้?
ขั้นตอนวางแผน PM ระบบไฟฟ้าอย่างมีระบบ
เมื่อผู้ประกอบการเริ่มมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเริ่มพิจารณาเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว โดยทางโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็งเลือกใช้บริการจาก Nutthaphume Engineering ซึ่งมีบริการ PM ระบบไฟฟ้า โดยวิศวกรไฟฟ้าผู้ชำนาญการ ที่วางแผน PM เครื่องจักรและระบบไฟฟ้าผ่าน 4 ขั้นตอนสำคัญต่อไปนี้
1. การสำรวจและประเมินระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
ขั้นตอนแรก วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในงานระบบไฟฟ้าจะเข้าตรวจสอบโครงสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด เช่น ตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ หม้อแปลงไฟฟ้า ระบบสายดิน สายส่งกำลัง และอุปกรณ์ป้องกัน รวมถึงการวิเคราะห์โหลดไฟฟ้าที่ใช้งานจริง และหาอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการชำรุดในอนาคต
2. วางแผน PM ระบบไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ
เมื่อสำรวจระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ทีมวิศวกรจะเริ่มวางแผน PM ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของโรงงาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- จัดทำ แผน PM ที่ครอบคลุมตามรูปแบบการใช้งาน
- กำหนดความถี่ เช่น รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี
- สร้าง Checklist รายการตรวจสอบชัดเจน เช่น วัดแรงดัน ตรวจค่าความต้านทาน ฉนวน ตรวจสอบเบรกเกอร์
- วางแผนการเปลี่ยนอะไหล่สำคัญก่อนเสียหาย
3. ดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาตามแผน
เมื่อมีแผนบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรโดยละเอียด เพื่อหาจุดเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหาย หรือมีผลต่อความปลอดภัย โดยอุปกรณ์ที่ต้องตรวจสอบ เช่น
- ตรวจสอบตู้ MDB และทำความสะอาดทุกจุด
- ตรวจสอบจุดต่อสายไฟที่เสื่อมสภาพ
- วัดความต้านทานฉนวน ตรวจสอบความร้อนผิดปกติด้วย Thermal Camera
- ทดสอบอุปกรณ์ป้องกัน เช่น เบรกเกอร์ ฟิวส์
- ตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าและระบบระบายความร้อน
4. จัดทำรายงานผลและให้คำแนะนำเชิงวิศวกรรม
ทุกครั้งหลังการเข้าบำรุงรักษา จะมีการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบอย่างละเอียด พร้อมระบุสภาพของอุปกรณ์ที่ตรวจพบ ปัญหาที่แก้ไขไปแล้ว และให้คำแนะนำสำหรับการปรับปรุงหรืออัปเกรดระบบในอนาคต เช่น การพิจารณาติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้า หรือการเตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) หากมีแผนจะเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
ผลลัพธ์หลัง PM ระบบไฟฟ้า ในโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง
หลังจากโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็งได้ทำการ PM ระบบไฟฟ้า ภายในระยะเวลา 6 เดือน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสามารถสรุปได้ ดังนี้
- ลด Downtime ลง 70% จากเฉลี่ย 3–4 ครั้ง เหลือเพียง 1 ครั้งต่อเดือน
- ลดเวลาหยุดการผลิตลง จากเฉลี่ย 4 ชั่วโมง เหลือไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง
- ลดค่าใช้จ่ายฉุกเฉินจากความผิดพลาดของอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่วยประหยัดกว่า 500,000 บาทต่อปี
- ลดการสูญเสียวัตถุดิบ ที่สร้างความเสียหายได้เกือบ 1,000,000 บาทต่อปี
- เพิ่มโอกาสในการผลิต ลดการพลาดโควตาการส่งสินค้า
- สร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและลูกค้า
โดยรวมแล้ว ประหยัดค่าใช้จ่ายที่เคยเสียไปได้มากกว่า 3 ล้านบาทต่อปี แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่าบริการ PM แต่ก็ยังถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่ บริการ ดูแลบำรุงรักษา ระบบไฟฟ้าแรงสูง
ทำไมการ PM ระบบไฟฟ้าถึงคุ้มค่ากับทุกธุรกิจ?
จากกรณีตัวอย่างของโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง เห็นได้ว่าการตรวจสอบระบบไฟฟ้านั้นมีข้อดีในหลายด้านที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ เพราะมีความคุ้มค่าในหลายด้านต่อไปนี้
ลดความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง
หลังการ PM เครื่องจักรและระบบไฟฟ้า สิ่งสำคัญที่ได้ทันทีคือ ช่วยลดความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงจากอัคคีภัย ไฟฟ้าลัดวงจร อุบัติเหตุ และความเสียหายของเครื่องจักร
ยืดอายุการใช้งานของระบบ
เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านการดูแลและตรวจสอบ ก็จะช่วยยืดอายุให้ใช้งานได้นานขึ้น ลดค่าเสื่อมของอุปกรณ์ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายและต้องซ่อมแซมซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
วางแผนค่าใช้จ่ายได้ง่าย
หลังตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแล้ว จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของรายจ่ายเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เปลี่ยนจากค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอนให้กลายเป็นแผนค่าใช้จ่ายที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า
สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
เมื่อระบบไฟฟ้าและเครื่องจักรมีเสถียรภาพ การทำงานก็เต็มไปด้วยประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้
เลือก PM ระบบไฟฟ้า โดยผู้เชี่ยวชาญ มั่นใจได้มาตรฐานที่ ณัฐภูมิ วิศวกรรม
ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม คือส่วนสำคัญที่ช่วยต่อยอดความสำเร็จให้กับธุรกิจ การวางแผน PM ระบบไฟฟ้า จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากเหตุฉุกเฉินที่อาจทำให้ต้องหยุดการผลิต และช่วยรักษาสภาพการทำงานของเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การตรวจสอบระบบไฟฟ้า ควรเลือกใช้บริการบริษัทที่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบโดยทีมวิศวกรไฟฟ้าที่มีใบอนุญาต มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับท่านที่กำลังมองหาทีมวิศวกรไฟฟ้ามืออาชีพที่ Nutthaphume Engineering เรามีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงในระบบไฟฟ้าแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง-แรงต่ำ การดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า (Preventive Maintenance) การตรวจรับรองระบบไฟฟ้าประจำปี ไปจนถึงการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) และระบบโซลาร์เซลล์
ปรึกษาเราวันนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา และโทร 098-291-4911
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการ PM ระบบไฟฟ้า (FAQ)
สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้า เราได้รวบรวมคำตอบจากคำถามที่พบบ่อยมาให้ได้ทราบกัน
1. ทำไมโรงงานจึงควรทำ PM ระบบไฟฟ้าเป็นประจำ?
เพราะระบบไฟฟ้าคือโครงสร้างหลักของกระบวนการผลิต การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสียหายและลดต้นทุนฉุกเฉินได้มาก
2. จำเป็นต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นหรือไม่?
ควรตรวจสอบอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีผลต่อความปลอดภัยและกระแสไฟหลัก เช่น MDB เบรกเกอร์ หม้อแปลง สายดิน
3. ทำ PM เองกับใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญต่างกันอย่างไร?
การใช้ผู้เชี่ยวชาญช่วยให้ได้มาตรฐาน มีการบันทึกผลที่ตรวจสอบได้ และมีคำแนะนำเชิงเทคนิคที่นำไปใช้ได้จริง