
Solar Cell คืออะไร? มีหลักการทำงานอย่างไร
Solar Cell คือ แผงโซล่าเซลล์ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์สุริยะจำนวนมาก มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์ จากนั้นจะทำการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระบวนการแปลงพลังงานนั้นไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อชั้นบรรยากาศ เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง
เมื่อไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงแล้ว พลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากระบบของ Solar Cell เกิดขึ้นได้อย่างไร? หลักการทำงานของโซล่าเซลล์คือ รับพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นเซลล์สุริยะและสารซิลิคอนบนแผงโซล่าเซลล์จะทำปรากฏการณ์โฟโต้โวลตาอิก (Photovoltaic) เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
หลังจากได้พลังงานกระแสไฟฟ้ามาแล้ว จะต้องทำการปรับแรงดันไฟฟ้าให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับผ่านตัวแปลงอินเวอร์เตอร์ (Inverter) และส่งเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง

ส่วนประกอบที่สำคัญของ Solar Cell มีอะไรบ้าง?
เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามหลักการอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แผง Solar Cell จึงจำเป็นต้องมีส่วนประกอบสำคัญหลัก ๆ 4 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย
แผง Solar Cell
แผ่นลักษณะคล้ายกระจกสีเงิน ทำหน้าที่รับและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า
Solar Cell Battery
แบตเตอรี่จะเป็นส่วนประกอบของ Solar Cell 2 ประเภท ได้แก่ Off-Grid Solar Cell และ Hybrid Solar Cell ทำหน้าที่สะสมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เก็บไว้สำรอง เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในเวลาฉุกเฉิน
อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter)
อินเวอร์เตอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีหน้าที่แปลงกระแสแรงดันไฟฟ้า เพราะโดยทั่วไปแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าจะใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ ในขณะที่แผงโซล่าเซลล์แปลงพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง
โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar Charge Controller)
สำหรับโซล่าชาร์จเจอร์ จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Solar Cell ในส่วนของการนำกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ และควบคุมการจ่ายออกจากแบตเตอรี่

ประเภทของ Solar Cell ที่ใช้ในปัจจุบัน
การจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้คุ้มค่าก็ขึ้นอยู่กับประเภทของ Solar Cell เช่นกัน เพราะแต่ละประเภทก็จะมีข้อดี ข้อจำกัดแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานโซล่าเซลล์ของแต่ละคนอีกด้วย โดยประเภทของ Solar Cell ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. On-Grid Solar Cell
Solar Cell แบบออนกริด เป็นรูปแบบประเภทโซล่าเซลล์ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปอย่างแพร่หลาย โดยจะมีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าส่วนกลาง แปลว่าการติดตั้ง Solar Cell ประเภทนี้จะต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าก่อนติดตั้ง และช่วยประหยัดค่าไฟบางส่วน
การทำงานของ Solar Cell ประเภทออนกริดคือ หลังจากรับพลังงานแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแล้ว จะทำการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ของการไฟฟ้าส่วนกลาง เพื่อเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ จากนั้นจึงจะส่งกลับเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือน
2. Off-Grid Solar Cell
Solar Cell แบบออฟกริดจะแตกต่างกับออนกริดตรงที่จะส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรง ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องรับไฟฟ้ากระแสตรงได้ นอกจากนี้ยังใช้ได้ทั้งแบบมีแบตเตอรี่ และไม่มีแบตเตอรี่อีกด้วย
โดยแบตเตอรี่ที่ใช้ใน Off-Grid Solar Cell จะเป็นแบตเตอรี่ Deep Cycle ซึ่งสามารถสำรองไฟฟ้าได้นาน ส่งผลให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอดวัน ในส่วนของราคา โซล่าเซลล์ออฟกริดจะมีราคาสูงกว่าแบบออนกริดเล็กน้อย
3. Hybrid Solar Cell
Solar Cell แบบ Hybrid คือการรวมระบบโซล่าเซลล์ออนกริดและออฟกริดเข้าด้วยกัน โดยจะมีแบตเตอรี่ไว้สำรองไฟฟ้าเพื่อใช้ในเวลากลางคืนหรือเวลาฉุกเฉินเช่นกัน แต่ระบบไฮบริดจะมีข้อดีเสริมอีกหนึ่งอย่างคือ หากไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่หมด จะทำการดึงไฟฟ้าส่วนกลางจากการไฟฟ้ามาใช้ ทำให้สามารถใช้ไฟได้อย่างต่อเนื่อง

Solar Cell แต่ละประเภท เหมาะกับใคร?
Solar Cell ทั้งหมด 3 ประเภทนั้นก็เหมาะกับพื้นที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าสูงสุด มาดูกันว่า Solar Cell แต่ละประเภท เหมาะกับใคร และสถานที่แบบไหน
- On-Grid Solar Cell เหมาะสำหรับครัวเรือนทั่วไป บ้าน ออฟฟิศ คาเฟ่ หรือสถานที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากในช่วงเวลากลางวัน
- Off-Grid Solar Cell เหมาะกับพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น ดอย ภูเขา เกาะ พื้นที่ทำการเกษตร
- Hybrid Solar Cell เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และจำเป็นต้องใช้ทีมติดตั้งผู้เชี่ยวชาญการเดินวงจรไฟฟ้า
ติดตั้ง Solar Cell ยังไงให้คุ้มค่า ประหยัดไฟได้มีประสิทธิภาพที่สุด?
มาถึงหัวข้อที่หลายคนอยากรู้ คือ การติดตั้ง Solar Cell ทำยังไงให้คุ้มค่า ช่วยลดค่าไฟได้มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะการลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง หากเลือกประเภทไม่เหมาะสมกับพื้นที่อาจไม่คุ้มกับการลงทุนได้ ดังนั้นมาดูกันว่าก่อนติดโซล่าเซลล์บ้าน ควรพิจารณาอะไรบ้าง
1. รู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เลือกประเภท Solar Cell ที่ควรติดตั้งกับบ้านของเราได้ โดยจะต้องสังเกตมิเตอร์ช่วงเช้าและช่วงเย็น จากนั้นนำมาหักลบหาส่วนต่างว่าใช้ไฟในช่วงกลางวันประมาณเท่าไหร่ ให้สังเกตเลขมิเตอร์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นจำนวน 4-7 วัน แล้วนำส่วนต่างมารวมกันและหารด้วยจำนวนวันที่สังเกต ก็จะได้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยต่อวัน

2. คำนวณงบประมาณให้รอบคอบ
การคำนวณงบประมาณนั้นจะช่วยให้สามารถรู้จุดคุ้มทุนในการติดตั้ง Solar Cell ได้ โดยจะต้องคำนวณทั้งปริมาณการใช้ไฟฟ้า ราคาของโซล่าเซลล์ ค่าไฟปกติต่อเดือนและรายปี
สามารถอ่านวิธีคำนวณงบประมาณติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างละเอียดได้ที่ : วิธีคำนวณงบประมาณติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
3. เลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับบ้าน
เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับบ้าน คือ เลือกกำลังผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า สิ่งนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะคุ้มค่ามากหรือน้อย
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ใน 1 วันจะมีโอกาสรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ประมาณ 4 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวันละ 45 หน่วย ให้นำหน่วยไฟฟ้าที่ใช้/ปริมาณแสงอาทิตย์ ก็จะได้เป็น 45/4 = 11.25 ดังนั้นควรเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 12v จึงจะคุ้มค่าที่สุด หรือหากใครไม่มั่นใจ ในส่วนนี้สามารถนำปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านไปปรึกษากับบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ได้

4. เลือกบริษัทติดตั้ง Solar Cell ที่ไว้ใจได้ มีการรับรองมาตรฐาน
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แตกต่างจากการติดหลอดไฟ Solar Cell เนื่องจากจะต้องมีการเดินวงจรไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องให้ช่างผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการติดตั้งมาดำเนินการแทน การเลือกบริษัทติดตั้ง Solar Cell ที่ได้มาตรฐานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจพิจารณาในการเลือกใช้บริการ โดยหลัก ๆ แล้วควรเลือกบริษัทที่ไว้วางใจได้ ให้คำปรึกษาอย่างจริงใจ บริการหลังการขายและการรับประกันครอบคลุม ที่สำคัญคือมีทีมช่างที่เชี่ยวชาญการติดตั้ง อุปกรณ์ได้มาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพอย่างถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม: 5 คุณสมบัติที่ต้องมีของบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานที่น่าเชื่อถือ
ราคาและค่าติดตั้ง Solar Cell อยู่ที่เท่าไหร่ ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผล
ราคาแผง Solar Cell นั้นจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณหลักหมื่นไปจนถึงแสนบาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับประเภทและระบบการทำงาน ในส่วนของค่าบริการติดตั้งจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณในการติดตั้ง
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ระยะทางในการเดินทางไปติดตั้ง
- พื้นที่ในการติดตั้งโซล่าเซลล์
- อุปกรณ์เสริม Inverter ที่เลือกใช้
- ความยากง่ายของบริเวณที่ติดตั้ง
- บริการเสริมอื่น ๆ เช่น การดำเนินเรื่องขออนุญาตติดตั้งกับการไฟฟ้า
บริการหลังการขายนั้นควรที่จะต้องมีการเจรจากับทางบริษัทติดตั้งให้ละเอียดว่าบริการนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่เสียโอกาสในภายหลัง

ติดตั้ง Solar Cell โดยทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์สูงกับ ณัฐภูมิ วิศวกรรม
ปรึกษา ออกแบบติดตั้งแผง Solar Cell กับ Nutthaphume Engineering บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่นำทีมด้วยวิศวกรคุณภาพ ให้บริการครบวงจรตั้งแต่การออกแบบระบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ของเรามีมาตรฐานรับรองมากมาย ทีมช่างมีความเชี่ยวชาญ พร้อมเต็มใจให้บริการตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ทิ้งงาน
ปรึกษาทีมงานหรือขอใบเสนอราคาได้เลย ติดต่อเรา