เปรียบเทียบการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ PPA, Private PPA, ลงทุนเอง แบบไหนเหมาะกับบ้านและธุรกิจของคุณ

ปัจจุบันการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพราะช่วยลดค่าไฟฟ้าในระยะยาวและสนับสนุนพลังงานสะอาด แต่เมื่อต้องเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์ หลายคนอาจยังสับสนว่าควรตัดสินใจทางเลือกแบบไหนดีระหว่าง PPA (Power Purchase Agreement), Private PPA หรือลงทุนติดตั้งเอง (Self-Investment) ซึ่งแต่ละทางเลือกแบบมีเงื่อนไข ต้นทุน และความเหมาะสมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดการใช้ไฟฟ้าและเป้าหมายของผู้ใช้ บทความนี้จะพาไปดูว่าแต่ละทางเลือกในการติดตั้งโซล่าเซลล์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และแบบไหนเหมาะกับบ้านหรือธุรกิจของคุณมากที่สุด
ติดตั้งโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ PPA

ติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ PPA

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ PPA (Power Purchase Agreement) คือการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่บ้านหรือโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง แล้วทำสัญญาขายไฟฟ้าที่เหลือใช้กับภาครัฐ โดยหน่วยงานรัฐที่รับซื้อไฟฟ้าในปัจจุบันได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้านครหลวง (MEA) 

ข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ PPA คือเป็นการขายไฟฟ้าที่ระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขเอาไว้ชัดเจน มีราคาซื้อ-ขายคงที่ และมีระยะเวลาของสัญญาที่แน่นอน ทำให้ผู้ขายไฟฟ้ารับรู้รายได้ที่ชัดเจน และเป็นการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าควบคู่กับการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

อ่านบทความ: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในอาคาร เพื่อการติดตั้งที่ถูกต้อง

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ Private PPA

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ Private PPA คือการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของธุรกิจไม่ต้องลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เอง แต่เป็นว่าจ้างให้บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์หรือที่เรียกกันว่า EPC (Engineering Procurement and Construction) มาลงทุนติดตั้งให้ แล้วทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ว่าจ้างกับ EPC โดยจะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าตามที่ EPC กำหนด โดยมีระยะสัญญาทั่วไปคือ 10-20 ปี เมื่อสิ้นสุดสัญญากรรมสิทธิ์ของโซล่าเซลล์จะเป็นของผู้ว่าจ้างอัตโนมัติโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ Private PPA คือยังไม่ต้องลงทุนเงินก้อนใหญ่ในภายแรกแต่ก็สามารถมีโซล่าเซลล์ไว้ใช้ผลิตไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและช่วยลดความยุ่งยากในการบำรุงรักษาเพราะ EPC จะดูแลให้ทั้งหมด

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเอง

ติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเอง

การลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์เองคือการที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของธุรกิจลงทุนซื้อโซล่าเซลล์เองและจ้าง EPC มาออกแบบระบบและทำการติดตั้งให้ ถือเป็นการลงทุนด้วยเงินจำนวนมากตั้งแต่แรก แต่ก็มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องมีสัญญาผูกมัดกับ EPC เป็นระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ Private PPA เพราะหน่วยค่าไฟจะไม่ขึ้นลงตามอัตราของการไฟฟ้า

อีกหนึ่งข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเองคือสิทธิประโยชน์ทางภาษี ธุรกิจหรือโรงงานที่ติดตั้งโซล่าเซลล์จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีจาก BOI หลายอย่าง อาทิ ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี ลดภาษีอากรนำเข้าเครื่องจักรรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ในอัตรา 7% ได้ โดยอุตสาหกรรมที่สามารถขอ BOI ติดตั้งโซล่าเซลล์มีด้วยกัน 8 ประเภท ได้แก่

  1. เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
  2. แร่ เซรามิก และโลหะขั้นมูลฐาน
  3. อุตสาหกรรมเบา เช่น กิจการผลิตสิ่งทอ
  4. ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
  5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  6. เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ
  7. กิจการบริการและสาธารณูปโภค
  8. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

เปรียบเทียบการติดตั้งโซล่าเซลล์ทั้ง 3 แบบ

การติดตั้งโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั้ง 3 แบบ สามารถนำไปปรับใช้กับที่อยู่อาศัย ธุรกิจ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและเป้าหมายของผู้ติดตั้ง 

สำหรับธุรกิจ

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ PPA เหมาะกับภาคธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์สูง เมื่อเข้าร่วมข้อตกลง PPA กับภาครัฐ โรงงานจะได้ประโยชน์ในด้านค่าไฟที่ลดลง และมีรายได้อย่างสม่ำเสมอจากการขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าตลอดอายุสัญญาที่ทำร่วมกัน ทำให้มีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว และยังได้ภาพลักษณ์ที่ดีในแง่ของการเป็นธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ Private PPA เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าด้วยการติดตั้งโซล่าเซลล์แต่ยังไม่มีเงินทุนก้อนใหญ่ในการซื้อและติดตั้งเป็นของตัวเอง วิธีนี้จะช่วยให้ธุรกิจมีโซล่าเซลล์ไว้ใช้ผลิตไฟฟ้าโดยยังไม่ต้องลงเงินทุนเอง ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดูแลรักษาเพราะมี EPC เป็นผู้ลงทุนติดตั้งและดูแลรักษาโซล่าเซลล์ให้ทั้งหมดตลอดอายุสัญญา นอกจากนี้ยังเหมาะกับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น มีขนาดธุรกิจไม่ใหญ่มาก มีการใช้ไฟฟ้าไม่สูง และไม่ต้องการกำลังการผลิตไฟฟ้าที่สูงมาก วิธีนี้จะให้ความยืดหยุ่นแก่ผู้เป็นเจ้าของมากกว่า

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเอง เหมาะกับธุรกิจที่มีงบเงินทุนและประมาณในการซื้อและติดตั้งโซล่าเซลล์ทั้งระบบ และต้องการควบคุมระบบผลิตไฟฟ้าเองทั้งหมด นอกจากนี้ยังเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการลดหย่อนต่าง ๆ

สำหรับที่อยู่อาศัย

ติดตั้งโซล่าเซลล์ที่อยู่อาศัย

การติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับที่อยู่อาศัยอาจมีข้อจำกัดเนื่องจากขนาดการติดตั้งที่เล็กกว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับธุรกิจ แต่เจ้าของที่อยู่อาศัยสามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งแบบ Private PPA และแบบลงทุนเอง โดยการติดตั้งแบบ Private PPA เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดค่าไฟฟ้าโดยไม่ต้องลงทุนซื้อแผงโซล่าเซลล์เอง แต่เลือกใช้บริการของ EPC ให้ช่วยลงทุนติดตั้งและใช้ไฟฟ้าตามเงื่อนของ EPC เจ้านั้น ๆ 

หากเจ้าของที่อยู่อาศัยมีเงินทุนก็สามารถเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเองได้เช่นกัน ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งในแง่การประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาวและเพิ่มมูลค่าให้กับบ้าน นอกจากนี้การติดตั้งโซล่าเซลล์ในปัจจุบันยังมีตัวเลือกหลากหลาย สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะกับบ้านหรืออาคารที่อยู่อาศัยได้ตามต้องการ ขณะเดียวกันก็ยังมีตัวเลือกทางการเงินที่หลากหลาย เช่น การผ่อนชำระ หรือสินเชื่อเพื่อการติดตั้งโซล่าเซลล์ ทำให้การเป็นเจ้าของแผงโซล่าเซลล์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

อ่านบทความ:  หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีกี่ประเภท ต่างกันอย่างไร ใช้งานแบบไหน?

 

ข้อควรพิจารณาในการเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์

ในการเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์ มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณาเพื่อให้ได้ระบบที่คุ้มค่าและเหมาะกับการใช้งานจริงมากที่สุด ดังนี้

  • ปริมาณการใช้ไฟฟ้า: ควรประเมินปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนเพื่อเลือกขนาดระบบที่เหมาะสม หากมีการใช้ไฟฟ้ามาก การติดตั้งโซล่าเซลล์จะยิ่งคุ้มค่า
  • พื้นที่ติดตั้ง: พิจารณาพื้นที่ให้เพียงพอต่อการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หากติดตั้งบนหลังคาควรคำนึงถึงการรับน้ำหนักและมีทิศทางรับแสงที่ดี
  • งบประมาณ: ควรมีการวางแผนเรื่องงบประมาณการติดตั้ง พร้อมทั้งพิจารณาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและผลตอบแทนที่จะได้รับอย่างรอบคอบ แล้วเลือกรูปแบบการติดตั้งให้เหมาะสมกับงบประมาณที่มี 
  • เป้าหมาย: ควรกำหนดเป้าหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้ชัดเจน เช่น ต้องการลดค่าไฟฟ้า, สร้างรายได้, หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 
  • ผู้ให้บริการติดตั้ง: ควรเลือกผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่เชื่อถือได้ ใช้อุปกรณ์ได้มาตรฐาน มีการทำงานที่มีมาตรฐาน มีบริการหลังการขายที่ดี เช่น มีการรับประกันงานติดตั้ง มีบริการตรวจเช็กและดูแลรักษาหลังติดตั้ง เพื่อให้ระบบโซล่าเซลล์ทำงานได้ดีตลอดเวลา


อ่านบทความ: 5 คุณสมบัติที่ต้องมีของบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานที่น่าเชื่อถือ

Nutthaphume Engineering รับออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์โดยทีมงานมืออาชีพ 

ไม่ว่าจะเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเอง แบบ PPA หรือ Private PPA แต่ละทางเลือกมีข้อดีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับงบประมาณ พื้นที่ และเป้าหมายในการใช้งานไฟฟ้า สิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ารูปแบบการติดตั้งคือการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพ หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งโซล่าเซลล์ Nutthaphume Engineering ยินดีให้บริการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง เรายินดีให้คำปรึกษาและวางแผนระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับบ้านและธุรกิจของคุณ พร้อมบริการหลังการขายที่เอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้คุณได้รับระบบโซล่าเซลล์ที่คุ้มค่า ใช้งานได้ยาวนาน และมีประสิทธิภาพสูงสุด


ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)