
EV Charger คืออะไร สามารถติดตั้งที่บ้านได้ไหม
EV Charger คือเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าให้พร้อมใช้งาน แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ การชาร์จทั่วไป (Normal Charge: AC Charging) และชาร์จเร็ว (Fast Charge: DC Charging) นอกจากนี้การทำสถานี EV Charger ที่บ้านนั้นยังมี 2 ประเภท ได้แก่ EV Floor-Mounted Charger ติดตั้งบนพื้น และ EV Wall Charger ติดตั้งบนผนังนั่นเอง
การติดตั้งสถานี EV Charger หรือติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านนั้นสามารถทำได้ แต่จะมีข้อกำหนดในเรื่องของขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า และต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย เนื่องจากเป็นเรื่องการใช้ระบบไฟฟ้าซึ่งมีความละเอียดอ่อน การติดตั้งจึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยช่างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และในส่วนของการเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้พร้อมกับการติดตั้งก็สำคัญเช่นกัน ดังนั้นมาดูกันว่าการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านต้องรู้อะไรบ้าง

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคาเท่าไหร่?
มาเริ่มกันในเรื่องของ “ค่าใช้จ่าย” ในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ อยู่ 3 หมวด ได้แก่ ค่าเครื่องชาร์จ ค่าขอมิเตอร์กับการไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง หรือค่าแรงของทีมช่างนั่นเอง
โดยรายละเอียดติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคาแยกแต่ละหมวด มีดังนี้
1. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger)
ราคาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่ใช้ และกำลังไฟ โดยมีตั้งแต่ 3.7 กิโลวัตต์ไปจนถึง 22 กิโลวัตต์ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 100,000 บาท
2. ค่าขอมิเตอร์ลูกที่ 2 หรือค่าเพิ่มขนาดมิเตอร์
ในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะต้องมีขนาดมิเตอร์ให้เพียงพอกับการชาร์จรถยนต์ ดังนั้นจะต้องทำการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน แต่ถ้าหากไม่สามารถปรับปรุงได้ ก็สามารถขอมิเตอร์ลูกที่ 2 เพิ่มได้ โดยรายละเอียดค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ด้วยเช่นกัน
พื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
- ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง (MEA)
- ค่าตรวจสอบขอเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้า 700 – 2,500 บาท
- ค่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบอัตรา TOU 6,600 – 7,350 บาท
พื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
- ติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
- ค่าตรวจสอบขอเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้า 700 – 1,500 บาท
- ค่ามิเตอร์ไฟฟ้าอัตรา TOU 3,750 – 5,400 บาท
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์และค่าเดินระบบไฟฟ้า
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการติดตั้ง EV Charger โดยสามารถเลือกได้ตามความต้องการและความสะดวก แต่แนะนำให้เลือกบริษัทรับติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการเดินระบบไฟฟ้า รวมถึงมีการรับประกันและบริการหลังการขายที่ครอบคลุม ในส่วนของราคาค่าติดตั้งมักจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป

ค่าติดตั้งมิเตอร์ TOU คืออะไร ราคาเท่าไหร่
สำหรับบ้านไหนที่ไม่สามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมได้ จะต้องขอทำเรื่องขอมิเตอร์ลูกที่ 2 จากการไฟฟ้า ซึ่งจะมีมิเตอร์อีกแบบที่เรียกว่า มิเตอร์ TOU เป็นมิเตอร์ที่มีอัตราค่าไฟ 2 ช่วงเวลา ได้แก่
- ช่วง Peak คือช่วงเวลาตั้งแต่ 09:00 – 22:00 น. วันจันทร์-ศุกร์ และวันพืชมงคล
- ช่วง Off-Peak แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
22:.00 – 09:00 น. วันจันทร์-ศุกร์ วันพืชมงคล
00:00 – 24:00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ วันพืชมงคลที่ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงาน
โดยช่วง Off-Peak จะเป็นช่วงที่อัตราค่าไฟลดลง
หากต้องการติดตั้งมิเตอร์ TOU ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3,700 – 5,340 บาท พื้นที่กรุงเทพ นนทบุรี และสมุทรปราการจะอยู่ที่ 6,600 – 7,350 บาท

ขั้นตอนการเตรียมติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน
มาถึงขั้นตอนการเตรียมติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน อย่างที่ได้กล่าวไปว่าที่ชาร์จ EV นั้นเกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าซึ่งมีความละเอียดอ่อน ในการติดตั้งจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในทุกขั้นตอน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานด้วย
ถึงแม้ว่าหน้าที่ติดตั้งโดยรวมจะเป็นของช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้ว แต่ก่อนที่ช่างจะเข้ามาทำการติดตั้งให้นั้น ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารและตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ดังนี้
1. ตรวจสอบขนาดมิเตอร์
ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ว่าเพียงพอต่อการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วการชาร์จรถไฟฟ้าจะใช้กำลังไฟอยู่ที่ 32A แต่มิเตอร์บ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็น Single-Phase 15(45)A ซึ่งถ้าหากฝืนใช้งานชาร์จรถยนต์พร้อมกับใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ภายในบ้าน อาจส่งผลให้ไฟดับได้
หากตรวจสอบแล้วว่าขนาดมิเตอร์ไม่เพียงพอ ให้ดำเนินเรื่องขอเพิ่มมิเตอร์ลูกที่ 2 จากการไฟฟ้าตามขั้นตอนดังนี้
- ยื่นเอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน เอกสารหลักฐานสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า รายละเอียดทางเทคนิคอุปกรณ์และอุปกรณ์ป้องกัน
- นัดตรวจสอบมาตรฐานระบบไฟฟ้า โดยระบบไฟฟ้าของมิเตอร์ 1 และมิเตอร์ 2 ต้องแยกกันอย่างเด็ดขาด
- หากผ่านมาตรฐาน การไฟฟ้าจะทำการนัดวันติดตั้งมิเตอร์ลูกที่ 2
2. เตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย
ถ้าเป็นกรณีขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ไม่ได้ขอมิเตอร์ลูกที่ 2 จะต้องจัดเตรียมเอกสารดังนี้
บุคคลทั่วไป
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บิลค่าไฟ
- เอกสารหลักฐานสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
- ใบคำขอใช้ไฟฟ้า
นิติบุคคล
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัตรประชาชนกรรมการที่เกี่ยวข้องผู้มีอำนวจ
- สำเนาทะเบียนบ้านที่จะทำการขอเพิ่มขนาดมิเตอร์
- เอกสารหลักฐานสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
- ใบคำขอใช้ไฟฟ้า
3. เตรียมความพร้อมที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า
การเตรียมตู้ควบคุมไฟฟ้า คือต้องเตรียมพื้นที่ว่างสำหรับติดตั้งเมนเบรกเกอร์ (Miniature Circuit Breaker: MCB) ที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 100A และเพื่อแยกช่องจ่ายไฟไม่ให้รวมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ
4. ให้ช่างประเมินโหลดไฟ
หลังจากติดตั้งมิเตอร์แล้วต้องให้ช่างเทคนิคมาประเมินโหลดไฟ หากประเมินแล้วว่าเหมาะสมก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนถัดไปได้
5. ตรวจสอบขนาดสายไฟเมน
ขนาดสายไฟเมนควรจะอยู่ที่ 25 ตารางมิลลิเมตร หากไม่ใช่ให้ทำการเปลี่ยนให้เรียบร้อย
6. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว
อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RDC) เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ควรติดตั้งเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นสิ่งป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหากกระแสไฟฟ้าไหลเข้าออกไม่เท่ากัน
7. ติดตั้งเต้ารับ
การติดตั้งเต้ารับสำหรับ EV Charger จะเป็นแบบ 3 รู และต้องใช้สายดินใหม่ขนาด 16 มิลลิเมตร ไม่รวมกับสายดินเดิมของระบบไฟฟ้าบ้าน ลักษณะสายดินที่เหมาะสมปลอดภัยจะต้องมีฉนวนขนาด 10 ตารางมิลลิเมตรขึ้นไปหุ้มภายนอกอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม: ติดตั้ง EV Charger ที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน?
ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ต้องรู้ข้อนี้
ในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าภูมิภาคนั้นแตกต่างกัน โดยการไฟฟ้านครหลวงอนุญาตให้ติดตั้ง EV Charger ด้วยการเพิ่มสายเมนวงจรที่ 2 และเพิ่มขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสมตามรายละเอียดด้านบน ในขณะเดียวกันกำลังไฟรวมที่ใช้งานก็ต้องไม่เกินขนาดที่มิเตอร์รองรับด้วย
ในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอนุญาตให้เพิ่มการติดตั้งมิเตอร์ลูกที่ 2 โดยไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากัน และไม่ต้องเป็นมิเตอร์ประเภทเดียวกับลูกแรก ในการเดินสายเมน สามารถเดินสายจากมิเตอร์ลูกใหม่ไปยังจุดติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าได้เลย

บริการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านกับ ณัฐภูมิ วิศวกรรม โดยทีมวิศวกรคุณภาพ
หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน Nutthaphume Engineering ให้บริการออกแบบติดตั้งสถานี EV Charger มาตรฐานสากลด้วยอุปกรณ์คุณภาพจาก Wallbox แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลก พร้อมทีมช่างเทคนิคมากประสบการณ์ เชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้า เราให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบระบบ ติดตั้ง จนไปถึงการดูแลบำรุงรักษา
สนใจปรึกษาติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ทั้งแบบติดตั้งพื้น Floor-Mounted Charger และติดตั้ง Wall Charger ติดต่อเรา