เช็กให้ชัวร์! “สายดิน” ของคุณเสียหาย หลังแผ่นดินไหว หรือไม่?

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างหรือผนังตึกและอาคารหลายแห่งเท่านั้น แต่ระบบไฟฟ้าภายในอาคารเองก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระวัง โดยเฉพาะ สายดิน หรือ สายกราวด์ ที่อาจเกิดความเสียหายโดยที่เจ้าของอาคารไม่รู้ และหากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในอนาคต การตรวจสอบความเรียบร้อยและสังเกตความผิดปกติในเบื้องต้น จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้ในอนาคต
สายดิน หรือ สายกราวด์ คือ

สายดิน คืออะไร และสำคัญอย่างไรกับระบบไฟฟ้า?

สายดิน หรือสายกราวด์ คือ สายที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้ากับพื้นดิน โดยมีหน้าที่หลักคือช่วยระบายกระแสไฟฟ้าที่รั่วหรือเกินลงสู่ดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ระบบไฟฟ้ามีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เทียบกับดิน สำหรับการวางระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ เช่น ระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม คอนโด หรือร้านค้า สายดินที่ได้มาตรฐานยังเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยให้เซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถตัดวงจรได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดไฟรั่ว การติดตั้งสายดินจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของ ความปลอดภัยทางไฟฟ้า ที่ไม่ควรมองข้าม

สายดินป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างไร?

เมื่อเกิดไฟรั่วจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น หรือเครื่องจักรในโรงงาน สายดินจะทำหน้าที่เป็นทางลัดให้กระแสไฟฟ้าไหลลงสู่พื้นดินแทนที่จะไหลผ่านร่างกายมนุษย์ และหากระบบมีเบรกเกอร์ ELCB หรือ RCBO ระบบจะตัดไฟทันทีเมื่อพบความผิดปกติจากกระแสไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร

อ่านบทความที่น่าสนใจ : มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูงที่ผู้ประกอบการต้องรู้

สายดินป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างไร

แผ่นดินไหวส่งผลกระทบต่อ สายดิน อย่างไร?

แม้ว่าแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว อาจไม่ได้รุนแรงถึงขั้นสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างอาคาร แต่สำหรับสายดินแล้ว แรงสั่นไหวอาจส่งผลกระทบได้หลายรูปแบบ ดังนี้ 

  • หลักดินเคลื่อนตัว

ทำให้ค่าความต้านทานดินเปลี่ยน มีโอกาสที่สายดินจะไม่สามารถระบายไฟรั่ว หรือไฟเกินได้ดีเหมือนเดิม

  • สายดินหลุดหลวม

แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอาจทำให้สายดินหลวมและมีโอกาสหลุดได้ง่ายขึ้น หากรุนแรงกว่านั้นอาจส่งผลให้หลุดออกจากจุดเชื่อมต่อได้ทันที

  • เกิดความเสียหายกับท่อร้อยสาย

แผ่นดินไหวอาจส่งผลให้ท่อร้อยสายแตก ร้าว หรือสายดินฉีกขาดได้

  • เกิดการกัดกร่อนจากความชื้นในดิน

อาจมีความเปลี่ยนแปลงใต้ชั้นดิน ส่งผลให้มีความชื้นสูงและเป็นต้นเหตุให้สายดินถูกกัดกร่อน

หากเกิดความเสียหายเหล่านี้กับสายดิน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันไฟรั่วลดลง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร หรือผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในโรงงานได้

ปัญหาไฟรั่วลงกราวด์

วิธีสังเกตอาการ “ไฟรั่วลงกราวด์” หรือสายดินเสียหาย

แม้ว่าการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างละเอียดควรเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ แต่หากเกิดเหตุการณ์สุดวิสัยอย่างแผ่นดินไหว ผู้ดูแลอาคารสามารถสังเกตความผิดปกติด้วยตัวเองเบื้องต้นได้ดังนี้

1. การตรวจสอบภายนอก

เบื้องต้นสามารถตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภายนอกได้ โดยแบ่งเป็น 4 จุดสำคัญต่อไปนี้  

  • บริเวณแท่งกราวด์ : สังเกตดูว่าดินบริเวณที่ติดตั้งแท่งกราวด์มีการบวมขึ้น ยุบตัว หรือมีร่องรอยการเคลื่อนตัวเกิดขึ้นหรือไม่​
  • ท่อร้อยสายดิน : ตรวจสอบว่าท่อร้อยสายดินมีการแตกหัก งอ หรือหลุดออกจากตำแหน่งเดิมหรือไม่​
  • จุดเชื่อมต่อสายดิน : สังเกตดูว่าสายดินหลุดหลวม หรือมีการกัดกร่อนบริเวณจุดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือแผงควบคุมไฟฟ้า​
  • สภาพทั่วไปของสายดิน : สังเกตว่าสายดินมีรอยแตกร้าว ฉีกขาด หรือถูกกดทับด้วยสิ่งของหรือไม่​

2. สังเกตการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า

หากสังเกตภายนอกแล้วไม่พบความเสียหาย หรือมีจุดที่ต้องซ่อมแซม ให้ลองสังเกตเพิ่มเติมจากการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในโรงงานหรืออาคาร ดังนี้ 

  • ไฟกระพริบหรือดับเอง : หากอุปกรณ์ไฟฟ้าเริ่มมีอาการไฟกระพริบผิดปกติ หรือดับเองโดยไม่มีสาเหตุ และอาคารที่อยู่ใกล้เคียงไม่ได้มีไฟดับด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาในระบบไฟฟ้า รวมถึงระบบสายดิน​
  • ความรู้สึกถึงกระแสไฟฟ้ารั่ว : หากสัมผัสตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้ารั่วเล็กน้อย ทั้งที่ไม่เคยมีความรู้สึกไฟฟ้ารั่วมาก่อน นั่นเป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างอันตรายที่ต้องรีบตรวจสอบ​ และไม่ควรทดลองซ้ำโดยเด็ดขาด
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์ตัดบ่อย : หากเซอร์กิตเบรกเกอร์ ตัดวงจรบ่อยครั้งโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อาจเป็นผลมาจากความผิดปกติในระบบไฟฟ้า และอาจเกี่ยวข้องกับระบบสายดิน​
  • กลิ่นไหม้ : หากได้กลิ่นไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือแผงควบคุมไฟฟ้า ควรรีบปิดระบบไฟฟ้าทันทีและเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงโดยเร็วที่สุด

3. การวัดไฟรั่วด้วยมิเตอร์เบื้องต้น

กรณีที่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือบริเวณตัวอาคารที่เป็นเหล็กแล้วรู้สึกคล้ายกับถูกกระแสไฟฟ้า ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงซ้ำอีกครั้ง แต่สามารถตรวจสอบเพื่อความแน่ใจโดยใช้ เครื่องวัดกระแสไฟรั่ว (Leakage Current Meter) เพื่อทดสอบเบื้องต้นได้ เช่น วัดกระแสที่ไหลลงกราวด์หรือหาค่าความต้านทานดิน โดยค่าที่เหมาะสมตามมาตรฐานทั่วไปคือไม่เกิน 5 โอห์ม หากสูงกว่านี้ ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที

ไม่มั่นใจในระบบไฟฟ้า กังวลเรื่องสายดินเสียหาย : ปรึกษาเราตอนนี้!

ตรวจสอบสายดิน และระบบไฟฟ้า โดยผู้เชี่ยวชาญ

สัญญาณเตือนที่ต้องเรียกผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบทันที

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสายดินหลังแผ่นดินไหว อาจตรวจพบได้ทั้งกรณีที่เสียหายเล็กน้อย และมีความเสี่ยงต่ออันตราย โดยเฉพาะหากพบสัญญาณความผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรรีบติดต่อผู้ตรวจสอบไฟฟ้าอย่างละเอียดทันที

  • พบความเสียหายทางกายภาพที่ชัดเจนกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสายดิน เช่น ท่อแตกหัก, สายดินขาด
  • รู้สึกถึงกระแสไฟฟ้ารั่วเมื่อสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้า แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม​
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์ตัดวงจรบ่อยครั้งโดยไม่มีสาเหตุที่อธิบายได้​
  • ได้กลิ่นไหม้จากระบบไฟฟ้า​
  • อาคารหรือโรงงานได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในระดับปานกลางถึงรุนแรง แม้จะไม่พบความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในเบื้องต้น ก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ

หากรู้สึกไม่มั่นใจในการตรวจสอบด้วยตัวเอง หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า​ควรแจ้งผู้เชี่ยวชาญ หรือเลือก ปรึกษาเรา

การตรวจสอบระบบสายดินโดยผู้เชี่ยวชาญ

กรณีที่เรียกผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบระบบไฟฟ้าและสายดิน วิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญจะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบในหลายส่วน เพื่อให้มั่นใจมากที่สุดว่าระบบไฟฟ้าและสายดินมีความปลอดภัย หรือมีส่วนที่ต้องปรับเปลี่ยนซ่อมแซมหรือไม่ โดยการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญมีดังนี้

  • ตรวจสอบความสมบูรณ์ทางกายภาพ

ตรวจดูส่วนประกอบทั้งหมดของระบบสายดินทั้งหมดอย่างละเอียด​ ว่ามีส่วนที่เสียหาย หรือต้องทำการเปลี่ยนหรือไม่

  • ทดสอบค่าความต้านทานของดิน

วิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องมือทดสอบค่าดิน เพื่อวัดประสิทธิภาพในการนำกระแสไฟฟ้าลงสู่ดิน​

  • ทดสอบความต่อเนื่องของวงจรสายดิน

เพื่อตรวจสอบว่าการเชื่อมต่อของสายดินตลอดทั้งระบบยังคงสมบูรณ์​และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ตรวจสอบการเชื่อมต่อของสายดิน

วิศวกรไฟฟ้าอาจใช้การไล่เช็กสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและแผงควบคุมไฟฟ้า​ทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีส่วนที่ฉีกขาด หลุดหลวม 

  • ให้คำแนะนำและดำเนินการแก้ไข

หากพบความผิดปกติ วิศวกรไฟฟ้าจะทำการแก้ไขทันทีในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หรือในบางกรณีอาจให้คำแนะนำในเบื้องต้นเพื่อการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง

ตรวจสอบ สายดิน และระบบไฟฟ้า โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ กับ ณัฐภูมิ วิศวกรรม

ภัยธรรมชาติอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แม้ไม่มีความรุนแรง แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และสายดิน เพราะนี่อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและความเสียหายมหาศาลจากระบบไฟฟ้าได้ หากคุณเป็นเจ้าของโรงงาน, คอนโด, อาคารสำนักงาน หรือร้านค้า และต้องการตรวจสอบหรืออัปเกรดระบบสายดินให้ได้มาตรฐาน ณัฐภูมิ วิศวกรรม พร้อมให้บริการตรวจสอบ ดูแลและบำรุงระบบไฟฟ้าครบวงจร โดยทีมวิศวกรไฟฟ้ามืออาชีพ มั่นใจในความปลอดภัยได้ในทุกขั้นตอน “เพราะเรื่องไฟฟ้า ป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา หรือเลือก โทร.098-291-4911 และแอดไลน์ @npeng ได้เลย!

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)