หน้าฝนนี้…โรงงานและอาคารสำนักงานต้องรู้! 8 จุดเสี่ยงไฟช็อต-ไฟรั่ว ที่มองข้ามไม่ได้

ช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายพื้นที่คงเผชิญกับความเปียกชื้นหรือน้ำท่วมขังกันอย่างแน่นอน ซึ่งนอกจากความชื้นแฉะที่ต้องระวังแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือ ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า เพราะความชื้นและน้ำฝนที่กระหน่ำตกลงมานั้นอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตได้ โดยเฉพาะสายไฟฟ้าในโรงงานและอาคารสำนักงาน หากมีจุดไหนที่มี ‘ไฟรั่ว’ ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน การหยุดชะงักของการผลิต และอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้

เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้ารั่ว วันนี้ Nutthaphume Engineering ได้รวบรวม 8 จุดเสี่ยงในโรงงานและอาคารสำนักงานที่ต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้า พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อให้ระบบไฟฟ้าของคุณปลอดภัยตลอดฤดูฝนมาบอกกัน
ไฟรั่ว ช่วงหน้าฝน

ปัญหาระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

อันตรายที่พบบ่อยเกี่ยวกับงานไฟฟ้าในฤดูฝน

ก่อนที่จะไปดูจุดเสี่ยงไฟรั่วหรือไฟช็อตว่ามีจุดไหนบ้าง ลองมาดูกันก่อนว่ามีอันตรายจากไฟฟ้าแบบไหนบ้าง ที่มักจะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารสำนักงานในช่วงหน้าฝน

  • ไฟฟ้ารั่ว

    เกิดจากการที่น้ำฝนซึมเข้าสายไฟหรือปลั๊ก จนทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผิดปกติ

  • ไฟฟ้าลัดวงจร

    น้ำฝนเข้าตู้ควบคุมไฟฟ้าหรือระบบเดินสายภายในตู้ทำให้เกิดการลัดวงจร อาจนำไปสู่อัคคีภัย

  • ไฟฟ้าช็อต-ไฟดูด

    มือที่เปียกชื้นอาจไปสัมผัสเข้ากับสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่มีไฟฟ้ารั่ว 

  • สายไฟห้อย-ขาด

    นอกจากน้ำฝนแล้ว บางครั้งลมแรงอาจทำให้สายไฟหลุด ห้อย หรือขาด ซึ่งเป็นอันตรายได้ต่อผู้ที่ต้องเข้าใช้พื้นที่ใกล้เคียง

  • อุปกรณ์ชำรุด เสียหาย

    อาจเป็นเพราะอายุการใช้งานนาน หรือใช้อุปกรณ์ไม่ผ่านมาตรฐาน และไม่ได้วางแผน PM ระบบไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหาย ไฟรั่วหรือลัดวงจรเมื่อเปียกน้ำ

อันตรายจากระบบไฟฟ้าเหล่านี้ มักเกิดขึ้นและพบบ่อยในช่วงฤดูฝน ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงได้ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารสำนักงาน ต่อไปนี้คือ 8 จุดเสี่ยงที่ต้องเช็กให้ชัวร์ในช่วงหน้าฝน

อันตรายของระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมช่วงหน้าฝน

1. สายไฟฟ้าและจุดเชื่อมต่อภายนอกอาคาร

สายไฟที่ติดตั้งภายนอกอาคาร ไม่ว่าจะเป็นสายเมนเข้าอาคาร สายไฟสำหรับป้ายโฆษณา หรือสายไฟสำหรับระบบแสงสว่างภายนอก หากฉนวนชำรุด เสื่อมสภาพ และมีจุดเชื่อมต่อไม่แน่นหนา ปัญหาเหล่านี้จะเป็นช่องทางให้น้ำและความชื้นซึมเข้าไป ทำให้เกิดการลัดวงจรได้ง่าย

วิธีป้องกัน :

หมั่นตรวจสอบสภาพสายไฟฟ้าภายนอกอาคารเป็นประจำ หากพบรอยแตก ฉีกขาด หรือฉนวนเสื่อมสภาพ ควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที และควรตรวจสอบจุดเชื่อมต่อทั้งหมดว่าถูกหุ้มฉนวนและมีซีลกันน้ำอย่างแน่นหนา นอกจากนี้อาจลองใช้วิธีเช็คสายไฟช็อตด้วยการลองปิดไฟทั้งบ้านและดึงปลั๊กออก แล้วลองดูมิเตอร์ไฟฟ้าว่ายังหมุนอยู่หรือไม่ หากมิเตอร์ยังหมุน มีความเป็นไปได้ว่ากระแสไฟรั่วในบางจุด ควรรีบเปลี่ยนสายไฟทันที

กังวลเกี่ยวกับไฟฟ้าช่วงหน้าฝน เลือกว่าจ้าง ตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าประจำปี ที่ ณัฐภูมิ วิศวกรรม เพื่อให้คุณมั่นใจในความปลอดภัยได้ทุกฤดูกาล

ตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานฤดูฝน

2. ตู้ควบคุมไฟฟ้าและแผงสวิตช์

ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) และแผงสวิตช์ต่าง ๆ หากติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสโดนฝนสาดหรือมีความชื้นสูง และตู้มีรอยรั่ว จะทำให้ความชื้นเข้าไปภายในระบบ ยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งทำให้เกิดการกัดกร่อนของอุปกรณ์ และนำไปสู่ปัญหาไฟรั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจรได้

วิธีป้องกัน : 

ตรวจสอบรอยรั่วรอบตู้ควบคุมไฟฟ้า ปิดประตูตู้ให้สนิทอยู่เสมอ และควรเลือกติดตั้งตู้ในบริเวณที่แห้ง ปลอดภัยจากน้ำฝน หากจำเป็นต้องติดตั้งภายนอกอาคาร ควรเลือกใช้ตู้ที่ได้มาตรฐาน IP55 หรือ IP65 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันน้ำและฝุ่นได้ดี

อ่านบทความที่น่าสนใจ : เช็กให้ชัวร์! PM ตู้ควบคุมไฟฟ้า MDB ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง? ความถี่แค่ไหนถึงปลอดภัย?

วิธีเช็คสายไฟช็อต อาคารสำนักงาน ฤดูฝน

3. อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรอุตสาหกรรม

ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าติดตั้งใกล้พื้นที่เสี่ยงความชื้น หากอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานหรือขาดการป้องกันที่เพียงพอ อาจเกิดไฟรั่วได้ นอกจากนี้หากมีเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งที่ฝนสาด หรือมีความชื้นจากรอยรั่วก็อาจทำให้เครื่องจักรเสียหาย หยุดชะงัก ร้ายแรงที่สุดอาจเกิดไฟดูดเมื่อสัมผัสถูกได้

วิธีป้องกัน : 

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ และเครื่องจักรที่อยู่ในพื้นที่เปียกชื้นมีมาตรฐานการป้องกันน้ำและฝุ่นที่เหมาะสม และควรติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว หรือ Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB) เพิ่มเติมเข้าไปในวงจรไฟฟ้าของอุปกรณ์เหล่านั้น

pm ระบบไฟฟ้า ฤดูฝน

4. ปลั๊กและเต้ารับไฟฟ้าภายนอกอาคาร

ปลั๊กและเต้ารับที่อยู่ภายนอกอาคาร หรือติดตั้งกลางแจ้ง หากไม่มีฝาครอบกันน้ำ ไม่ได้มาตรฐาน IP และขาดการตรวจสอบระบบไฟฟ้าเพื่อซ่อมบำรุง อาจเป็นช่องทางให้น้ำเข้าไปสัมผัสกับวงจรไฟฟ้า เป็นสาเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด หรือไฟช็อตเสียหายได้

วิธีป้องกัน : 

เลือกใช้ปลั๊กและเต้ารับแบบกันน้ำ (Waterproof Outlet) ที่มีฝาครอบปิดมิดชิดสำหรับใช้งานกลางแจ้งที่อาจเจอกับความเปียกชื้นช่วงหน้าฝน และเพื่อความปลอดภัยสูงสุดควรหลีกเลี่ยงการเสียบปลั๊กค้างไว้หากไม่ได้ใช้งาน

ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี ป้องกันไฟรั่วหน้าฝน

5. ระบบสายดิน

ระบบสายดินที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์ จะไม่สามารถนำกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงสู่พื้นดินได้อย่างปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สัมผัส นอกจากนี้โรงงานหรืออาคารสำนักงานที่มักจะเจอปัญหาน้ำท่วมขังหลังฝนตกอยู่เป็นประจำ ยิ่งต้องตรวจสอบพื้นที่รอบ ๆ บริเวณที่ติดตั้งสายดิน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อตำแหน่งของสายดินทำให้ไม่สามารถนำกระแสไฟฟ้ารั่วได้

วิธีป้องกัน : 

ตรวจสอบระบบสายดินของอาคารและโรงงานเป็นประจำ ควรให้สายดินอยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องตามมาตรฐาน โดยให้ช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบและบำรุงรักษาอยู่เป็นประจำ หรือตรวจสอบอย่างละเอียดในช่วงฤดูฝน

ไฟรั่ว ไฟช็อต อันตรายที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน

6. ระบบแสงสว่างภายในและภายนอกอาคาร

โคมไฟภายนอกอาคาร เช่น โคมไฟรั้ว โคมไฟสวน หากซีลยางเสื่อมสภาพ หรือโคมไฟมีรอยร้าว ช่วงฤดูฝนอาจทำให้น้ำเข้าไปภายในได้ ส่วนโคมไฟภายในอาคารที่ติดตั้งใกล้หน้าต่าง หรือช่องลมที่อาจมีฝนสาดเข้ามาถึงก็เป็นจุดที่ต้องระวังเช่นกัน

วิธีป้องกัน : 

ตรวจสอบสภาพโคมไฟภายนอกและซีลยางกันน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากพบการชำรุดควรรีบแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่ และพิจารณาตำแหน่งการติดตั้งโคมไฟภายในอาคารให้ห่างจากจุดที่อาจโดนฝนสาด

ตรวจเช็กหม้อแปลงไฟฟ้า ป้องกันอันตรายหน้าฝน

7. หม้อแปลงไฟฟ้าภายนอกอาคาร

หม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งภายนอกอาคาร หากมีการเสื่อมสภาพของน้ำมันฉนวนที่เกิดจากความชื้นและฝุ่นละออง หรือหม้อแปลงมีความเสียหายจากสภาพแวดล้อม เช่น อากาศร้อน ความชื้นสูง หรือมีฝนตกหนัก ทำให้วัสดุของหม้อแปลงเสื่อมสภาพเร็วขึ้น อาจทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกจนเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

วิธีป้องกัน : 

ตรวจสอบสภาพภายนอกของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นประจำว่าไม่มีรอยรั่วซึม สนิม หรือมีความเสียหายที่มองเห็นชัดเจนหรือไม่ และควรทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้การดูแลและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง โดยผู้เชี่ยวชาญตามกำหนดเวลาก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

จุดเสี่ยงไฟฟ้ารั่ว โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงาน

8. อุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้า

ในช่วงหน้าฝนหรือฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมขัง ทำให้งู หรือสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ เปลี่ยนที่อยู่อาศัยด้วยการเลื้อยหนีขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าเพื่อหาที่หลบภัยหรือหาแหล่งอาหารใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือความเสียหายต่อระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงานได้

วิธีป้องกัน : 

ควรมีการติดตั้ง Snake Guard หรืออุปกรณ์กันงู และตรวจสอบอยู่เสมอว่ายังอยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานหรือไม่ หากพบการชำรุดควรรีบซ่อมแซมหรือติดตั้งใหม่ทันที เพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานไม่ให้เข้าถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าบนเสา

เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ : อุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้า

ปลอดภัยจากไฟรั่วและไฟฟ้าลัดวงจรช่วงฤดูฝน แค่ตรวจสอบระบบไฟฟ้าอยู่เสมอ

การเตรียมพร้อมและตรวจสอบจุดเสี่ยงเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าช็อต ไฟรั่ว และความเสียหายต่อระบบไฟฟ้าในโรงงานและอาคารสำนักงานของคุณได้อย่างมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของความปลอดภัย แต่ยังรวมถึงการรักษาประสิทธิภาพการทำงานและลดความสูญเสียทางธุรกิจด้วย

หากคุณต้องการคำปรึกษา หรือมองหาผู้ให้บริการที่ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับโรงงานและอาคารสำนักงานของคุณในช่วงหน้าฝนนี้ Nutthaphume Engineering คือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบพลังงานและระบบไฟฟ้า ที่ให้บริการครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น ออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง-แรงต่ำ บำรุงรักษาและ PM ระบบไฟฟ้า พร้อมตรวจรับรองระบบไฟฟ้าประจำปีโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ให้คุณมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสูงสุด 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา หรือโทร 098-291-4911⁣

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในฤดูฝน (FAQ)

มาถึงตรงนี้ เชื่อว่ายังมีหลายท่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลระบบไฟฟ้าในฤดูฝน เพื่อป้องกันปัญหา ไฟรั่ว ไฟช็อตกันบ้าง โดยต่อไปนี้คือ คำถามที่พบบ่อย

เพราะความชื้นจากฝนหรือหากเกิดน้ำท่วม อาจทำให้ไหลซึมเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟจนเกิดความเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงไฟรั่วหรือไฟฟ้าช็อตได้ง่ายกว่าฤดูอื่น

หนึ่งในวิธีที่ทำได้ง่ายคือ ปิดเบรกเกอร์หลักและถอดปลั๊กทุกอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วดูว่ามิเตอร์ไฟฟ้า ยังหมุนอยู่หรือไม่ ถ้ายังหมุนแปลว่าอาจมีกระแสไฟรั่ว ควรรีบเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบทันที

ควรตรวจสอบทุกเดือนในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะจุดเสี่ยง เช่น ปลั๊กภายนอก ตู้ควบคุมไฟฟ้า เครื่องจักรกลางแจ้ง และควรมีการ PM ระบบไฟฟ้าหรือบำรุงรักษาประจำปีโดยวิศวกรไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาต

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)