6 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเดินระบบสายไฟในอาคาร สถานประกอบการ หรือโรงงานอุตสาหกรรม

ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ หรืออาคารออฟฟิศขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากระบบไฟฟ้าในอาคารดีจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความต่อเนื่องของการผลิต จำนวนผลลัพธ์การผลิต ความเสถียรของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ใช้ดำเนินการทำงาน ดังนั้นจึงควรใส่ใจเรื่องระบบไฟฟ้าในทุกขั้นตอนตั้งแต่การวางระบบไฟ การเดินสายไฟฟ้า จนไปถึงการดูแลรักษา

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นวางระบบไฟฟ้า หรืออยากปรับเปลี่ยนโครงสร้างแบบไฟฟ้าภายในอาคารอยู่ บทความนี้จะมาบอกข้อควรรู้เกี่ยวกับการเดินระบบสายไฟฟ้าในอาคาร โรงงาน และสถานประกอบการให้ได้สังเกตและระมัดระวังกัน เพื่อที่จะได้ใช้งานไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ณัฐภูมิ วิศวกรรม ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงาน

ความสำคัญของประสิทธิภาพการเดินสายระบบไฟฟ้าในโรงงาน

การเดินสายระบบไฟฟ้าในโรงงานดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่ต้องให้ความสำคัญมากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งเรื่องใช้งานระบบไฟฟ้าและความปลอดภัยนั้นเริ่มจากการเดินสายไฟทั้งสิ้น เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทก็มีขนาดกำลังไฟที่แตกต่างกัน การเลือกใช้สายไฟจึงควรมีขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละอุปกรณ์ รวมถึงการมีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจรที่สมบูรณ์ ไม่มีจุดชำรุดอย่างฉนวนไฟฟ้าที่ต้องคอยสังเกตด้วยเช่นกัน


หากมีการเดินระบบสายส่งไฟฟ้าซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของระบบไฟฟ้าในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นประโยชน์ให้แก่องค์กรและอุตสาหกรรมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน และประสิทธิภาพของการทำงานหรือการผลิต เป็นต้น

ประเภทการเดินสายระบบไฟฟ้าในโรงงาน

การเดินสายระบบไฟฟ้าในโรงงานหรือสถานประกอบการนั้นมีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะเหมาะกับความต้องการและความเหมาะสมของสถานที่ ดังนั้นก่อนจะติดตั้งเดินสายระบบไฟฟ้า มาดูกันว่าการเดินสายไฟฟ้าในอาคารโรงงานมีกี่แบบ แต่ละแบบเป็นอย่างไรบ้างกัน

  • การเดินสายแบบปิด (Concealed Wiring) จะเป็นการเดินสายไฟฟ้าและครอบด้วยโลหะ ไม้ หรือท่อ เพื่อซ่อนสายไฟไว้ด้านในไม่ให้ดูรกตา เหมาะกับใช้ในโรงงานทั่วไปที่ไม่ต้องการความสวยงาม เน้นใช้งานและซ่อมบำรุงได้ง่าย หรือสถานประกอบการที่ตกแต่งสไตล์ลอฟท์ (Loft)
  • การเดินสายแบบเปิด (Open Wiring) เป็นการเดินสายที่มีต้นทุนถูก เหมาะกับอาคารไม้ โดยจะเป็นการเดินสายที่เปิดโล่งเห็นแนวสายไฟ
  • การเดินสายแบบฝัง (Wiring Under Plaster) เป็นการเดินสายไฟที่นิยมใช้ในสถานที่ที่ต้องการความประณีต แต่ต้องมีความปลอดภัยในการติดตั้งสูง เช่น การใช้ฉนวนครอบสายไฟ เพราะจะเป็นการเดินสายไฟฝังใต้ผนังหรือพื้นคอนกรีต และมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบอื่น ๆ

ข้อควรรู้เรื่องการเดินระบบไฟฟ้าในโรงงานและอาคารที่ควรทราบ

การติดตั้งและวางระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นสิ่งที่จะทำให้กระบวนการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน เนื่องจากภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการ ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้นการเดินระบบไฟฟ้าจึงมีความซับซ้อนมากกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากช่างเฉพาะทาง

แต่ก็มีสิ่งที่เหล่าผู้ประกอบการสามารถคอยสังเกตเพื่อความเรียบร้อยและความถูกต้องของงานได้เช่นกัน โดยการเดินระบบไฟฟ้าโรงงานมีข้อควรรู้ ดังนี้

1. ความสมบูรณ์ของฉนวนไฟฟ้า

ช่างไฟควรที่จะเดินสายไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง เพราะฉนวนไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มขดลวดไฟฟ้าไว้ภายใน ลดการเกิดประกายไฟจากความร้อนสะสมซึ่งฉีกขาด ชำรุดได้ง่าย ดังนั้นหากทำงานไม่เรียบร้อย ปล่อยจุดที่เสียหายทิ้งไว้ก็จะเสี่ยงเกิดอันตรายได้ง่าย หลังจากการเดินสายไฟจึงควรตรวจสอบความเรียบร้อย ถ้ามีตรงไหนชำรุดก็ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที

2. ความเหมาะสมของฟิวส์ไฟฟ้าและขนาด

ขนาดฟิวส์และสายไฟฟ้าควรเหมาะสมกับกำลังไฟของแต่ละอุปกรณ์ ไม่ควรใช้ขนาดฟิวส์ที่โตมากกว่าความสามารถในการรองรับของอุปกรณ์นั้น ๆ รวมถึงตรวจสอบการทำงานวงจรไฟฟ้าโดยรวมหลังติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วว่าทำงานปกติดี ไม่มีจุดไหนผิดปกติ

3. การตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเจอกระแสไฟฟ้าผิดปกติ

ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกโรงงานควรมี คือตัวตัดไฟหรือเบรกเกอร์ที่มีระบบตัดไฟฟ้าเมื่อตรวจเจอว่าไฟฟ้าทำงานผิดปกติเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของช่างไฟและการทำงานภายในสถานที่ในอนาคต โดยระบบการตัดวงจรไฟฟ้าจะทำการตัดไฟอัตโนมัติทันทีหากตรวจเจอว่ากระแสไฟฟ้ารั่วหรือทำงานผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไฟดูด ไฟช็อตจากกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินได้

4. ตรวจสอบพื้นที่และระบบไฟฟ้าก่อนเริ่มงาน

ก่อนที่ช่างไฟจะเริ่มทำงาน ควรตรวจสอบสถานที่ให้เรียบร้อยก่อนว่าพร้อมเดินระบบไฟฟ้าหรือไม่ โดยพื้นที่ทำงานควรแห้ง ไม่เปียกน้ำ รวมถึงตัดระบบไฟฟ้าก่อนเริ่มดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยด้วยเช่นกัน

5. การแยกวงจรไฟฟ้า

ในการติดตั้งระบบไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าควรที่จะแยกออกจากกันเป็นสัดส่วน ไม่รวมไว้ในตู้ไฟฟ้าหรือสวิตช์เดียว เพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสมของขนาดกำลังไฟฟ้าแต่ละอุปกรณ์

6. ระบบไฟฟ้าในโรงงาน

การติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานนั้นมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ระบบไฟ 3 เฟส 380V และระบบไฟ 3 เฟส 4 สาย 380/220V ซึ่งทั้งสองประเภทก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการในการใช้งาน แน่นอนว่าทั้งสองแบบเป็นระบบไฟฟ้าที่เอื้อประโยชน์ในการผลิตและเป็นระบบไฟที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การติดตั้งไปจนถึงการดูแลรักษาระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟสนั้นมีความซับซ้อน ควรทำการออกแบบติดตั้งวางระบบโดยช่างและวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมเรื่องความเหมาะสมของระบบไฟฟ้าโรงงาน : ใช้ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมแบบไหนให้เหมาะสม มีปัจจัยใดบ้างที่ต้องคำนึงถึงก่อนติดตั้ง

ณัฐภูมิ วิศวกรรม บริการออกแบบไฟฟ้าภายในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

วัสดุที่ใช้เดินต่อสายระบบไฟฟ้าในโรงงาน มีอะไรบ้าง?

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเดินสายไฟฟ้าในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม มีวัสดุกี่แบบ กี่ประเภท

สำหรับประเภทของการเดินสายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าโรงงาน อาคาร และสถานประกอบการแบบปิดที่ต้องใช้วัสดุปิดไม่ให้เห็นทางเดินสายไฟ จะมีวัสดุที่ใช้เดินสายอยู่ 2 ประเภท คือ ท่อ และสายยาวน้ำตาลคู่หรือสายยาวขาว ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีรูปแบบการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้

 

การเดินสายด้วยท่อ

การเดินสายด้วยท่อจะใช้วัสดุอยู่ 2 แบบ ได้แก่ท่อสังกะสี และท่อเอสลอน วัสดุสองแบบนี้มีประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน รวมถึงความเหมาะสมที่จะใช้ติดตั้งภายในสถานที่ก็แตกต่างกันอีกด้วย

  • ท่อสังกะสี ลักษณะเป็นท่อสังกะสีกลมบาง ภายในจะประกอบไปด้วยฉนวน เหมาะสำหรับใช้ในโรงงาน โรงพยาบาล อาคารและโรงแรม การยึดหัวต่อจำเป็นต้องใช้บัดกรีเพื่อความแน่น
  • ท่อเอสลอน ทำมาจากพลาสติกและยางผสมกัน สามารถเดินสายได้ทั้งแบบฝังและแบบลอย เหมาะสำหรับใช้ในอาคารและโรงงาน แต่จะไม่เหมาะกับโรงงานที่ใช้การผลิตโดยความร้อนสูง เช่น โรงงานหล่อ หรือโรงงานเหล็ก เนื่องจากท่อเอสลอนนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำ ทนต่อแรงอัดประมาณ 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แต่ไม่ทนต่อความร้อนสูง

 

การเดินสายด้วยสายยาวน้ำตาลคู่ หรือสายยาวขาว

การเดินสายด้วยสายยาวน้ำตาลคู่ หรือสายยาวขาว เป็นการเดินสายไฟที่สามารถเห็นได้ทั่วไปตามสิ่งก่อสร้างที่เป็นปูนหรือไม้ ใช้เข็มขัดอะลูมิเนียมในการยึด สำหรับติดตั้งในอาคารจะต้องทำการฝังการเดินสายรูปแบบนี้ไว้ภายในผนัง

การเดินสายไฟฟ้าภายในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก ณัฐภูมิ วิศวกรรม

ณัฐภูมิ วิศวกรรม บริการติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงาน โดยทีมวิศวกรคุณภาพ

การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน จำเป็นจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการทำงานตั้งแต่การออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้า การเดินสาย จนไปถึงตรวจสอบการทำงานของวงจรไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยตามมาตรฐานการวางระบบไฟฟ้าโรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตภายในอุตสาหกรรมของคุณ เลือกใช้บริการติดตั้งวางระบบไฟฟ้ากับ Nutthaphume Engineering บริษัทที่มีทีมวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญพร้อมบริการด้านไฟฟ้าแบบครบวงจร ดำเนินงานปลอดภัยด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ให้อุตสาหกรรมและสถานประกอบการของคุณได้ใช้ระบบไฟฟ้าที่มีความเสถียรสูงสุดด้วยทีมงานคุณภาพจากเรา

ดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐานกับ Nutthaphume Engineering

ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติม/ขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)