เสาไฟฟ้าแรงสูงและเสาไฟฟ้าแรงต่ำ คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?
ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจว่า สายไฟบนเสาไฟฟ้า มีสายอะไรบ้าง ลองมาทำความรู้จักกับ เสาไฟฟ้าแรงสูง และ เสาไฟฟ้าแรงต่ำ กันก่อน โดยทั้งสองประเภทมีหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการใช้งานจริง ดังนี้
เสาไฟฟ้าแรงสูง :
ใช้สำหรับส่งพลังงานไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงมาก โดยอยู่ที่ระดับตั้งแต่ 22 กิโลโวลต์ (kV) ไปจนถึง 230 kV หรือมากกว่านั้น จุดประสงค์เพื่อจ่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไปยังสถานีไฟฟ้าย่อย หรือส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล โดยสายไฟบนเสาไฟฟ้าแรงสูงจะมีขนาดใหญ่ เพื่อรองรับแรงดันไฟสูง และส่งกำลังไฟฟ้าได้ไกลและมีประสิทธิภาพสูงสุด
เสาไฟฟ้าแรงต่ำ :
เป็นเสาไฟฟ้าที่รับพลังงานไฟฟ้าจากระบบแรงสูงผ่านหม้อแปลง แล้วลดระดับแรงดันลงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานภายในบ้านพักอาศัย โรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่ทั่วไป สายไฟบนเสาไฟฟ้าแรงต่ำจึงมีขนาดที่เล็กกว่าเพื่อให้เหมาะต่อการใช้งาน
อ่านบทความที่น่าสนใจ : ข้อควรระวัง! เมื่อปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงาน
เสาไฟฟ้าสูงกี่เมตร? และมีระยะห่าง 1 ช่วงเสาไฟฟ้ากี่เมตร?
ความสูงของเสาไฟฟ้าโดยทั่วไป มีความสูงตั้งแต่ 8 เมตร สำหรับเสาไฟฟ้าแรงต่ำในเขตเมือง และอาจมีขนาดความสูงไปจนถึง 12–16 เมตร สำหรับเสาไฟฟ้าแรงสูง ในกรณีที่มีสายส่งแรงสูงพิเศษอาจมีความสูงได้จนถึง 20–30 เมตร
สำหรับระยะห่าง 1 ช่วงเสาไฟฟ้าอยู่ที่กี่เมตร หรือระยะห่างระหว่างเสาต่อต้นนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของเสาและสายไฟ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 30–40 เมตร สำหรับระบบจำหน่ายแรงต่ำ และ 50–100 เมตร สำหรับระบบแรงสูง ทั้งนี้ ระยะห่างเสาไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับแรงดัน ความยาวสาย และลักษณะภูมิประเทศร่วมด้วย

สายไฟบนเสาไฟฟ้า 1 ต้น มีสายอะไรบ้าง?
เสาไฟฟ้า 1 ต้นในเขตเมืองหรือชุมชน มักมีสายไฟบนเสาไฟฟ้า และสายสื่อสารพาดผ่านให้เห็นอยู่หลายระดับ ซึ่งสามารถจัดเรียงตามลำดับความสูงเพื่อความปลอดภัย ดังนี้
1. สายไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage Line)
สายไฟฟ้าที่พาดผ่านอยู่ชั้นบนสุดของเสาไฟฟ้า เป็นสายไฟที่มีแรงดันสูง 22,000 – 33,000 โวลต์ สำหรับการส่งไฟฟ้าระยะไกลเพื่อใช้ในระบบไฟฟ้าแรงสูง โดยเป็นเส้นหนามีขนาดใหญ่ และอยู่ในระดับสูงสุดเพื่อป้องกันอันตราย โดยทั่วไปแล้วจะติดตั้งสูงจากพื้นดินประมาณ 10 เมตร
2. สายไฟฟ้าแรงต่ำ (Low Voltage Line)
สายไฟฟ้าที่อยู่ถัดลงมาจากสายแรงสูง สายไฟแรงต่ำเป็นสายไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กกว่า ใช้เพื่อนำส่งกระแสไฟฟ้าแรงต่ำที่ 230 หรือ 400 โวลต์ สำหรับใช้ภายในบ้านเรือนและอาคารต่าง ๆ ทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งสูงกว่าระดับพื้นที่ประมาณ 8 เมตร
3. สายสื่อสาร (Telecommunication Line)
สายที่อยู่ระดับล่างสุด เป็นสายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิลทีวี สายกล้องวงจรปิด สายควบคุมสัญญาณจราจร และสาย Fiber Optic อยู่ในระดับล่าง เพื่อแยกออกจากสายไฟฟ้า ช่วยลดความเสี่ยงการรบกวนสัญญาณและเพิ่มความปลอดภัย
4. อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
นอกจากสายไฟและสายสื่อสารแล้ว เสาไฟฟ้าบางต้นยังมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ลูกถ้วยไฟฟ้า และอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ซึ่งเป็นการติดตั้งร่วมกับสายไฟเพื่อช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพและเพิ่มความปลอดภัยในการส่งกระแสไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
การจัดลำดับความสูงของระดับสายไฟบนเสาไฟฟ้า มีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยและการบำรุงรักษา โดยกำหนดให้สายแรงสูงอยู่บนสุด และสายสื่อสารอยู่ล่างสุด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและเพิ่มความสะดวกในการซ่อมแซมบำรุงรักษาในอนาคต

ออกแบบติดตั้งสายไฟบนเสาไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ ด้วยมาตรฐาน ณัฐภูมิ วิศวกรรม
การเข้าใจโครงสร้างและประเภทของ สายไฟบนเสาไฟฟ้า ไม่เพียงช่วยเพิ่มความรู้รอบตัว แต่ยังมีส่วนสำคัญในการวางแผนโครงการก่อสร้าง หรือต่อเติมระบบไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย
หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้า ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและไฟฟ้าแรงต่ำ ณัฐภูมิ วิศวกรรม พร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ทั้งดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ตรวจสอบรับรองระบบไฟฟ้า ด้วยทีมงานวิศวกรมืออาชีพ และเครื่องมือที่ได้มาตรฐานระดับอุตสาหกรรม พร้อมประสบการณ์กว่า 25 ปี คุณจึงมั่นใจได้ในทุกขั้นตอนการดำเนินการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา หรือเลือก โทร.098-291-4911 และแอดไลน์ @npeng ได้เลย!