รู้จักแผงควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญสำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ทำไมจำเป็นต้องมี?

แผงควบคุมไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม มีหน้าที่ควบคุม แจกจ่าย และป้องกันระบบไฟฟ้าให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากขาดแผงควบคุมที่ดี อาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร หรือเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ความจำเป็นของแผงควบคุมไฟฟ้าจึงไม่ใช่แค่เรื่องของระบบ แต่คือความมั่นคงของทั้งงานและคน บทความนี้จะพาคุณมารู้จักตู้และแผงควบคุมไฟฟ้าให้มากขึ้น ดูว่ามีส่วนประกอบใดบ้าง หน้าที่การทำงาน และความสำคัญของอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อให้เข้าใจการทำงานและเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม
แผงควบคุมไฟฟ้า

แผงควบคุมไฟฟ้าคืออะไร 

แผงควบคุมไฟฟ้า (Electrical Control Panel) เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม มีลักษณะเป็นตู้โลหะขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและจัดการระบบไฟฟ้า ภายในตู้จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุม ตัดตอน และกระจายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคาร รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือการใช้งานเกินกำลัง ถือเป็นศูนย์กลางการควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดของอาคารที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับอาคารทุกหลัง

แผงควบคุมไฟฟ้าทำหน้าที่อะไร

แผงควบคุมไฟฟ้ามีหน้าที่หลักในการควบคุม ตัดตอน และแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารหรือโรงงาน เช่น เครื่องจักร ระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ป้องกันความเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือโหลดเกิน ช่วยให้สามารถตรวจสอบและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ทั้งยังอำนวยความสะดวกในการซ่อมบำรุงและปรับแต่งระบบไฟฟ้าตามความต้องการเฉพาะของแต่ละอาคาร

แผงควบคุมไฟฟ้ามีส่วนประกอบใดบ้าง

ส่วนประกอบของแผงควบคุมไฟฟ้า

ภายในแผงควบคุมไฟฟ้ามีส่วนประกอบสำคัญหลายส่วน แต่ละส่วนทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคาร มาดูกันว่ามีส่วนประกอบใดบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่ทำอะไร

วงจรกำลัง (Power Circuit)

วงจรกำลังในแผงควบคุมไฟฟ้าคือวงจรที่รับกระแสไฟฟ้าเข้ามาจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายนอกหรือหม้อแปลงไฟฟ้าแล้วจ่ายไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในอาคาร วงจรนี้จะมีชิ้นส่วนสำคัญอย่างบัสบาร์ สายไฟ และอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำหน้าที่ร่วมกัน ถูกออกแบบให้รองรับกำลังไฟฟ้าได้สูงและมีการระบายความร้อนที่ดีเพื่อให้จ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างราบรื่น

วงจรควบคุม (Control Circuit)

เป็นวงจรไฟฟ้าที่ใช้ในการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรกําลัง ทำหน้าที่รับคำสั่งและควบคุมกระแสไฟฟ้าในวงจร ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญได้แก่ สวิตช์ รีเลย์ และอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ ทำงานร่วมกันเพื่อให้วงจรไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ส่วนอุปกรณ์ควบคุม (Control Device)

ภายในแผงไฟฟ้าจำเป็นต้องมีส่วนอุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟฟ้าเพื่อทำหน้าที่ตัดตอนกระแสไฟฟ้า ส่วนนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมหลายชนิด เช่น Circuit Breaker สำหรับตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการลัดวงจร และ Overload Relay สำหรับป้องกันการใช้ไฟเกินกำลัง นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมชนิดอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าทั้งหมด

ส่วนไฟแสดงสถานะ (Pilot Lamp)

ไฟแสดงสถานะช่วยให้ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้าทราบถึงสถานะการทำงานของระบบต่าง ๆ โดยกำหนดให้ไฟสีเขียวแสดงถึงการทำงานปกติ ไฟสีเหลืองแสดงการทำงานในโหมดพิเศษ และไฟสีแดงแสดงถึงความผิดปกติ ช่วยให้ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้าทราบถึงความผิดปกติในระบบได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตรวจสอบแก้ไขปัญหาได้ทันที

ส่วนแผงควบคุม (Control Panel)

แผงควบคุมเป็นส่วนที่ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้ามองเห็นและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ประกอบด้วยสวิตช์ ปุ่มกด จอแสดงผล มิเตอร์ หรือเกจวัดค่าไฟฟ้าต่าง ๆ ออกแบบให้อ่านค่าได้ง่ายเพื่อให้เข้าใจการทำงานต่าง ๆ และควบคุมได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้อาจจะมีระบบล็อกเพื่อป้องกันบุคคลไม่เกี่ยวข้องเข้ามาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

ทำไมต้องติดตั้งแผงควบคุมไฟฟ้าในอาคาร

แผงควบคุมไฟฟ้า

แผงควบคุมไฟฟ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่ออาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมทุกหลัง ช่วยควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร ส่งผลให้เครื่องจักรและบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย นี่คือเหตุผลที่ทุกอาคารต้องติดตั้งแผงควบคุมไฟฟ้า

ควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดได้แบบรวมศูนย์

การติดตั้งแผงควบคุมไฟฟ้าทำให้สามารถจัดการระบบไฟฟ้าทั้งหมดได้จากจุดเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิด–ปิดการจ่ายกระแสไฟฟ้า ควบคุมกำลังการจ่ายไฟฟ้า ตัดตอนไฟฟ้า หรือการตรวจสอบสถานะการทำงานของวงจรต่าง ๆ ในระบบ ช่วยให้ผู้ดูแลมองเห็นการดำเนินการทั้งหมดได้อย่างครอบคลุม สามารถควบคุมและตรวจสอบระบบได้สะดวก รวดเร็ว ทำให้ตรวจจับและแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น และลดความซับซ้อนจากการวางระบบควบคุมแยกส่วน

เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

แผงควบคุมไฟฟ้าเอื้อต่อการวางแผนและจัดการระบบไฟฟ้าในอาคารอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการควบการจ่ายไฟฟ้า การตัดตอนไฟฟ้า การบำรุงรักษา หรือการตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนของอาคาร นอกจากนี้ยังสามารถนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยควบคุมและจัดการระบบไฟฟ้าได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการอย่างสม่ำเสมอ ลดข้อผิดพลาดส่วนบุคคล และประหยัดเวลาในการดูแล เมื่อพบปัญหาก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

เพิ่มความปลอดภัย ลดปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

แผงควบคุมไฟฟ้าที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ระบบไฟฟ้าจะมีความเสถียร ลดปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟดับ ไฟกระชาก หรือไฟฟ้าลัดวงจร อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในแผงควบคุม เช่น Circuit Breaker สวิตช์ ฟิวส์ เนื่องจากทั้งหมดถูกติดตั้งอย่างเป็นระเบียบในตู้โลหะที่มีความแข็งแรง หากเกิดปัญหาก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ง่าย

เพิ่มความปลอดภัยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและบุคลากร

แผงควบคุมไฟฟ้ามีอุปกรณ์ป้องกันที่ช่วยลดความเสียหายจากเหตุไฟฟ้าผิดปกติ เช่น เบรกเกอร์หรือตัวป้องกันไฟเกิน ช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้รับความเสียหาย และลดโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งยังสามารถตัดตอนไฟฟ้าเฉพาะส่วนได้ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจในการทำงานทุกสถานการณ์

รองรับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์หรือการขยายระบบไฟฟ้าในอนาคต

แผงควบคุมไฟฟ้าสามารถออกแบบให้รวมเข้ากับระบบและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมได้ สามารถออกแบบส่วนประกอบและการกำหนดค่าเฉพาะเพื่อให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ และสามารถเผื่อพื้นที่สำหรับการเพิ่มหรือการขยายระบบในอนาคตเพื่อรองรับการความต้องการไฟฟ้าที่มากขึ้นหรือการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องรื้อระบบเดิมทั้งหมด นอกจากนี้ยังช่วยให้การปรับปรุงหรือขยายระบบไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีระเบียบ รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต ปลอดภัย และคุ้มค่าในระยะยาว

มาตรฐานการติดตั้งแผงควบคุมไฟฟ้า

แผงควบคุมไฟฟ้า

การติดตั้งแผงควบคุมไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยต้องคำนึงถึงการป้องกันน้ำและฝุ่น (IP Rating) การระบายความร้อน การติดตั้งสายดิน และระยะห่างจากวัสดุติดไฟที่เพียงพอ นอกจากนี้ยังต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) ที่กำหนดโดยองค์กรระหว่างประเทศ มาตรฐาน วสท. ที่กำหนดโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และมาตรฐาน NEMA (National Electrical Manufacturers Association) ของอเมริกาเหนือ เป็นต้น 

 

ขณะเดียวกัน อาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีตามกฎหมาย และได้รับรองจากวิศวกรไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาต เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ การ PM ระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้ระบบไฟฟ้าในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมทำงานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยอยู่เสมอ

Nutthaphume Engineering ให้บริการติดตั้งและดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในอาคารและโรงงานแบบครบวงจร

แผงควบคุมไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างมากต่อระบบไฟฟ้าภายในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีการออกแบบและวางระบบอย่างเหมาะสมเพื่อให้ใช้งานไฟฟ้าได้อย่างราบรื่น ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ Nutthaphume Engineering ยินดีให้บริการติดตั้งและดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในอาคารและโรงงานแบบครบวงจร เรามีบริการออกแบบติดตั้งวางระบบไฟฟ้า และบริการตรวจไฟฟ้าโรงงานประจำปี ดำเนินการโดยวิศวกรไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญ ให้บริการภายใต้มาตรฐานและคุณภาพระดับสากล ปลอดภัยได้มาตรฐาน ช่วยให้ใช้งานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธฺภาพสูงสุด


ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)