หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีกี่ประเภท ต่างกันอย่างไร ใช้งานแบบไหน?

การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวและลดมลพิษจากการเดินทาง แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งาน EV ต้องทำความเข้าใจคือเรื่องของหัวชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งมีหลายประเภท และมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป หากเลือกใช้ไม่ถูกต้องก็อาจทำให้การชาร์จไฟทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น บทความนี้จะพาทุกท่านมาดูกันว่าหัวชาร์จรถไฟฟ้ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรและมีการใช้งานแบบไหน
หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ

ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ก่อนจะไปรู้จักหัวชาร์จรถไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ สิ่งแรกที่ผู้ใช้รถ EV ควรรู้คือระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ระบบหลัก คือ ระบบชาร์จแบบกระแสสลับหรือ AC กับระบบชาร์จแบบกระแสตรงหรือ DC โดยความแตกต่างหลัก ๆ ของสองระบบชาร์จนี้คือเรื่องของความเร็วในการชาร์จและสถานที่ในการใช้งาน

ระบบการชาร์จแบบกระแสสลับ AC

เป็นระบบการชาร์จที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเดียวกับไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จาก 10 – 100% ได้ในระยะเวลา 6 – 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่และกำลังการอัดประจุไฟฟฟ้า การชาร์จระบบ AC เป็นระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ง่าย สะดวก และมีต้นทุนถูกกว่าระบบชาร์จแบบกระแสตรง DC

ระบบการชาร์จแบบกระแสตรง DC

เป็นระบบการชาร์จที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง มีจุดเด่นที่กำลังการอัดประจุไฟฟ้าที่สูงกว่าระบบการชาร์จแบบ AC ทำให้สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้เร็วกว่า โดยสามารถชาร์จแบตเตอรี่จาก 10 – 80% ได้ในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรี่และกำลังการอัดประจุไฟฟ้าของเครื่องชาร์จ ระบบการชาร์จแบบนี้มักนิยมใช้ตามสถานีชาร์จในปั๊มน้ำมัน หรือตามสถานที่สาธารณะ ลักษณะจะเป็นตู้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ สามารถชาร์จไฟได้รวดเร็ว แต่ก็มีต้นทุนการชาร์จที่สูงกว่าระบบการชาร์จแบบ AC

ประเภทหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในไทย

ในประเทศไทยมีการใช้หัวชาร์จรถไฟฟ้าให้หลากหลายประเภทตามรูปแบบการชาร์จและแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งเราสามารถแบ่งหัวชาร์จรถไฟฟ้าออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ หัวชาร์จแบบธรรมดา หัวชาร์จแบบเร็ว และหัวชาร์จแบบด่วน

หัวชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)

หัวชาร์จแบบธรรมดา

หัวชาร์จแบบธรรมดา หรือ Normal Charge คือหัวชาร์จที่ออกแบบให้สามารถต่อชาร์จไฟจากเต้ารับไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรง รองรับระบบการชาร์จแบบกระแสสลับที่แรงดันไฟฟ้า 120V หรือ 240V ซึ่งเป็นระบบเดียวกับไฟบ้านทั่วไป แต่มีข้อจำกัดคือมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านต้องเป็นชนิด 15(45)A ขึ้นไป และต้องใช้เต้ารับแบบ 3 รู ที่รองรับปลั๊กเสียบของหัวชาร์จรถยนต์ได้ ใช้เวลาชาร์จแบตเตอรี่เต็มประมาณ 12-16 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจุ หัวชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดามี 2 แบบคือ

  • หัวชาร์จ TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อเมริกาและญี่ปุ่น เช่น Ford, Nissan, Mitsubishi ลักษณะจะเป็นหัวชาร์จแบบ 5 Pin ใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ AC แบบ 1 Phase รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด 32A / 250V
  • หัวชาร์จ TYPE 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ยุโรปและแบรนด์จากประเทศแถบเอเชียอื่น ๆ เช่น BMW, Mercedes-Benz, Audi, Volvo, MG, ลักษณะจะเป็นหัวชาร์จแบบ 7 Pin และมีส่วนตรงที่ด้านบน รองรับทั้งไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 1 Phase สูงสุด 70A / 250V และแบบ 3 Phase สูงสุด 63A / 480 V ทำให้ชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์เต็มเร็วกว่า 

หัวชาร์จแบบเร็ว (Double Speed Charge)

หัวชาร์จแบบเร็ว

หัวชาร์จประเภทนี้ใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ AC รองรับกำลังไฟสูงขึ้น ทำให้ชาร์จได้เร็วขึ้นและมีความปลอดภัยมากกว่าหัวชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดา นิยมติดตั้งไว้ตามบ้านหรือที่เรียกว่าตู้ชาร์จติดผนัง (Wall Box) ใช้เวลาชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจนเต็มประมาณ 6-9 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรี่และสเปกของตัวเครื่องชาร์จ โดยมีหัวชาร์จ 2 แบบเหมือนกับหัวชาร์จแบบธรรมดา คือ

  • หัวชาร์จ TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อเมริกาและญี่ปุ่น เช่น Ford, Nissan, Honda, Toyota, Mitsubishi ลักษณะจะเป็นหัวชาร์จแบบ 5 Pin ใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 1 Phase รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด 32A / 250V
  • หัวชาร์จ TYPE 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ยุโรปและแบรนด์จากประเทศแถบเอเชียอื่น ๆ เช่น BMW, Mercedes-Benz, Audi, Volvo, MG, Hyundai ลักษณะจะเป็นหัวชาร์จแบบ 7 Pin และมีส่วนตรงที่ด้านบน รองรับทั้งไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 1 Phase สูงสุด 70A / 250V และแบบ 3 Phase สูงสุด 63A / 480 V

หัวชาร์จแบบด่วน (Quick Charge)

หัวชาร์จแบบด่วน

หัวชาร์จประเภทนี้ใช้งานร่วมกับระบบไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC เป็นหัวชาร์จที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้สูง ทำให้ชาร์จไฟได้เร็วกว่าหัวชาร์จแบบธรรมดาและหัวชาร์จแบบเร็วมาก สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์จาก 10–80% ได้ในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีหัวชาร์จทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้

หัวชาร์จ CCS

หัวชาร์จ CSS ย่อมาจาก Combined Charging System เป็นนวัตกรรมหัวชาร์จที่ผสานระบบการชาร์จแบบ AC และ DC ไว้ในหัวเดียวกัน ลักษณะของหัวชาร์จประเภทนี้จะเป็นการนำหัวชาร์จ AC มาเพิ่มหัวต่ออีก 2 Pin ด้านล่าง เพื่อให้รองรับการชาร์จแบบ DC ได้ ถือเป็นหัวชาร์จรถไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมสูง แบ่งเป็น 2 แบบคือ

  • หัวชาร์จ CCS Type 1 นิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อเมริกันและญี่ปุ่น หัวชาร์จประเภทนี้จะมี 5 pin ด้านบน และ 2 pin ด้านล่าง รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด 200A / 600V
  • หัวชาร์จ CCS Type 2 นิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ยุโรปและเอเชีย หัวชาร์จประเภทนี้จะมี 7 pin ด้านบน และ 2 pin ด้านล่าง รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด 250A / 1000V

หัวชาร์จ CHAdeMo

หัวชาร์จ CHAdeMO ย่อมาจากคำว่า CHArge de MOve เป็นหัวชาร์จด่วนมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น มีความเสถียรสูงและปลอดภัย รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด 200A / 600V นิยมใช้ในแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น เช่น Nissan และ Mitsubishi 

หัวชาร์จ GB/T

หัวชาร์จ GB/T เป็นมาตรฐานหัวชาร์จที่ประเทศจีนเป็นผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ มีทั้งแบบ AC และ DC นิยมใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จากประเทศจีน เช่น BYD, GWM สำหรับประเทศไทยหัวชาร์จประเภทนี้พบเห็นได้น้อยและไม่ได้รับความนิยม

ติดตั้งหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

ติดตั้งหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน

การติดตั้งหัวชาร์จรถไฟฟ้าไว้ที่บ้านช่วยเพิ่มความสะดวกในการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ได้มากขึ้น และยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการออกไปชาร์จตามสถานีชาร์จสาธารณะ แต่การติดตั้งจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มาดูกันว่าก่อนติดตั้งหัวชาร์จรถไฟฟ้าต้องพิจารณาอะไรบ้าง

  • ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านว่ารองรับการติดตั้งตู้ชาร์จ Wall Box หรือไม่ หากเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ 1 Phase ควรเลือกขนาด 30A(30/100) ขึ้นไป ถ้าเป็นมิเตอร์ 3 Phase ต้องใช้ขนาด 15/45 ขึ้นไป เพื่อให้มีกำลังไฟเพียงพอสำหรับการชาร์จ
  • ต้องติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า MDB ที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 100A เพื่อให้รองรับกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ
  • ควรใช้สายไฟเมนขนาด 25 ตร.มม. ขึ้นไปเพื่อความแข็งแรงทนทานและรองรับกระแสไฟฟ้าได้สูง
  • ควรติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว RDC เพื่อช่วยตัดไฟอัตโนมัติในกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว หรือเกิดความร้อนสูงผิดปกติในระบบ แต่ถ้าตู้ชาร์จมีระบบตัดไฟอัตโนมัติในตัวอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม
  • เลือกประเภทหัวชาร์จให้ตรงกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา 
  • วางแผนตำแหน่งติดตั้งตู้ชาร์จให้สะดวกต่อการใช้งาน ตู้ชาร์จควรอยู่ห่างจากรถไม่เกิน 5 เมตร และต้องอยู่ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก ปลอดภัยจากฝนและแสงแดด
  • ติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองเพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน
  • คำนึงถึงความสะดวกในการบำรุงรักษาและการตรวจสอบสภาพหัวชาร์จอย่างสม่ำเสมอ

อ่านบทความ: ข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง EV Charger ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (Charging Mode) มีกี่แบบ?

Nutthaphume Engineering ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจร

การเลือกหัวชาร์จรถไฟฟ้าที่เหมาะสม ช่วยให้การใช้งานสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องความเร็วในการชาร์จ และความเข้ากันได้กับรถยนต์ไฟฟ้าของคุณ หากคุณต้องการติดตั้งหัวชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านหรือในองค์กร Nutthaphume Engineering พร้อมให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร ทั้งในรูปแบบติดตั้งบนพื้น (EV Floor-Mounted Charger) หรือแบบติดผนัง (EV Wall Charger)  ใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจากแบรนด์ Wallbox ให้บริการโดยทีมวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญ มั่นใจได้ด้วยมาตรฐานงานติดตั้งระดับสากล เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด 


ปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)