ประเภทของแบตเตอรี่รถไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?
ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าแบตเตอรี่ แต่ไม่ใช่ว่าแบตเตอรี่ทุกชนิดจะสามารถนำมาใช้กับรถไฟฟ้าได้ และแบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดาก็ไม่ได้เหมาะสมกับการนำมาใช้เป็นแบตรถไฟฟ้าเช่นกัน แล้วแบตเตอรี่ชนิดใดที่นิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่? มาหาคำตอบกันจากรายละเอียดข้อมูลแบตเตอรี่ทั้ง 7 ชนิดดังต่อไปนี้เลย
1. แบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม (Nickel-Cadmium Battery: Ni-Cd)
แบตรถไฟฟ้าชนิดนิกเกิล-แคดเมียม เป็นแบตที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าช่วงศตวรรษ 90 เก็บกระแสไฟฟ้าได้จำนวนมาก ชาร์จไฟเพื่อใช้ซ้ำได้ โดยรอบการชาร์จ หรือ Charges Cycle อยู่ที่ประมาณ 500-1,000 ครั้ง
แบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้โดยการชาร์จพลังงานไฟฟ้ากลับเข้าไป แต่ก็มีข้อจำกัดคือต้องใช้พลังงานให้หมดก่อนถึงจะทำการชาร์จใหม่ได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้แบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียมแล้ว และยังเป็นชนิดต้องห้ามเนื่องจากสารแคดเมียมรั่วไหลระหว่างการผลิต ซึ่งเป็นมลภาวะพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
2. แบตเตอรี่นิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-Metal Hydride: Ni-MH)
แบตเตอรี่นิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ เป็นประเภทแบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับแบตรถไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV-PHEV) นิยมใช้ในอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2000 โดยมีรถรุ่นที่ใช้แบตรถไฟฟ้าชนิดนี้คือ Toyota Camry Hybrid, Honda Accord Hybrid และ Toyota Corolla Hybrid
ข้อดีของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบตตะกั่วกรดและลิเธียมไอออน แต่ก็มีราคาสูง เก็บพลังงานไฟฟ้าได้ไม่มาก คายประจุและความร้อนสูง
3. แบตเตอรี่ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Supercapacitors)
แบตรถไฟฟ้าชนิดตัวเก็บประจุไฟฟ้า ถือเป็นแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนานหนึ่งชนิด ชาร์จไฟฟ้าได้เร็วและมีรอบการชาร์จมากถึงประมาณ 100,000-1,000,000 ครั้ง แต่ข้อเสียคือราคาสูงจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและจ่ายไฟไม่เสถียร ประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานสำรองไม่ดีมาก มีการคายประจุออกเมื่อไม่ได้ใช้งาน จึงไม่ค่อยเหมาะกับการใช้งานรถไฟฟ้าในปัจจุบันที่ต้องการกักเก็บพลังงานไฟฟ้า
4. แบตเตอรี่ตะกั่วกรด (Lead Acid Battery)
แบตเตอรี่ตะกั่วกรดเป็นแบตรถยนต์ราคาถูกแต่มีความปลอดภัย ใช้งานกับรถยนต์ระบบน้ำมันธรรมดามาตั้งแต่อดีต แต่จะทำหน้าที่ในการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ระบบแอร์และวิทยุ รวมถึงสตาร์ทเครื่องยนต์ มี 3 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่แห้ง แบตเตอรี่น้ำ และแบตเตอรี่กึ่งแห้ง
ในปัจจุบันแบตเตอรี่ตะกั่วถูกใช้เป็นแบตสำรองรถไฟฟ้า เนื่องจากมีอายุการใช้งานสั้น รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ไม่ดีนัก และมีค่าบำรุงรักษาสูง
5. แบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid State Battery)
แบตเตอรี่โซลิดสเตต เป็นแบตเตอรี่ที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพค่อนข้างดีที่สุดในแบตเตอรี่ทุกประเภท ด้วยมีความเสถียรสูง ชาร์จเร็ว และโอกาสติดไฟต่ำจากการที่ไม่มีอิเล็กโทรไลต์
แต่ด้วยต้นทุนการผลิตสูง และสารภายในเป็นของแข็ง จึงยังไม่เหมาะกับการนำมาใช้เป็นแบตรถไฟฟ้ามากนัก เนื่องจากการใช้งานรถยนต์จะมีการกระแทก แตก หรือหัก ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่เสี่ยงได้รับความเสียหาย ป้จจุบันจึงใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ใน Smart Watch และเครื่องกระตุ้นหัวใจอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยยังคงมีการพัฒนานวัตกรรมให้แบตเตอรี่โซลิดสเตตนั้นสามารถใช้เป็นแบตรถไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพได้ในอนาคต
6. แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium Ion: Li-Ion)
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นชนิดแบตเตอรี่ที่นิยมใช้ในรถไฟฟ้าหลากหลายยี่ห้อในปัจจุบัน เนื่องจากให้ประสิทธิภาพเสถียรที่สุด เก็บประจุไฟฟ้าได้เยอะ ชาร์จไฟเร็ว ไม่มี Memory Effect หรืออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลงจากการชาร์จโดยยังมีพลังงานหลงเหลืออยู่ รอบชาร์จอยู่ที่ประมาณ 500-10,000 ครั้ง และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้
อย่างไรก็ตาม การใช้งานแบตรถไฟฟ้าประเภทลิเธียมไอออนก็ยังมีข้อจำกัดในด้านอุณหภูมิที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ มีราคาสูง และมีโอกาสลุกไหม้ได้หากมีความร้อนเกิน 500 องศาเซลเซียส แต่รถไฟฟ้าในปัจจุบันได้มีการติดตั้ง Liquid Cooling เพื่อลดอุณหภูมิและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
7. แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน (Sodium Ion: Na-Ion)
แบตเตอรี่โซเดียมไอออน เป็นแบตรถไฟฟ้าที่ยังใช้กันไม่แพร่หลายมากนัก เริ่มต้นใช้เมื่อปี 2023 แต่ประสิทธิภาพของแบตค่อนข้างดี ชาร์จเร็วเกือบเต็มภายใน 20 นาที ทนต่อสภาพอุณหภูมิสูงต่ำได้ดี อายุการใช้งานนาน มีรอบการชาร์จอยู่ที่ประมาณ 8,000-10,000 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือมีน้ำหนักมาก ใช้พลังงานเยอะแต่ให้พลังงานน้อย ทำให้ใช้งานได้แค่ระยะทางสั้น ๆ เท่านั้น
ข้อดีและข้อเสียของแบตเตอรี่รถไฟฟ้า

ทราบกันไปแล้วว่าแบตรถไฟฟ้ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทเป็นยังไงบ้าง ทีนี้เรามาดูกันว่าข้อดีข้อเสียของแบตเตอรี่รถไฟฟ้านั้นมีอะไรบ้างกัน
ข้อดี
- ไม่ปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ เพราะไม่ต้องมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง
- ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยค่าชาร์จไฟฟ้าที่สถานีชาร์จมีราคาถูกกว่าราคาน้ำมัน และสามารถติดตั้ง EV Charger ได้ที่บ้าน ทำให้เสียเป็นค่าไฟรายเดือนแทน
- ใช้งานได้ในวัตถุประสงค์หลากหลาย
ข้อเสีย
- แบตเตอรี่มีราคาสูง
- การชาร์จไฟใช้เวลานานกว่าเติมน้ำมัน
- สถานีชาร์จตามปั๊มน้ำมันยังค่อนข้างเฉพาะจุด
ในส่วนของข้อจำกัดด้านการชาร์จแบตเตอรี่ มีหลายคนเลือกที่จะติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charger เอาไว้ที่บ้านเพื่อความสะดวก ให้รถไฟฟ้ามีพลังงานไฟฟ้าพร้อมใช้งานในตอนเช้าจากการชาร์จในตอนกลางคืน ไม่ต้องเสียเวลาจองคิวที่สถานีชาร์จ และการติดตั้ง EV Charger ยังประหยัดกว่าการไปชาร์จตามสถานีอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม: ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านราคาเท่าไหร่ ต้องทำยังไงบ้าง?
อายุงานใช้งานของแบตรถไฟฟ้า
อายุการใช้งานของแบตรถไฟฟ้านั้นจะนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยหลัก ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและรอบการชาร์จ ซึ่งการสังเกตว่าแบตเตอรี่รถไฟฟ้าเสื่อมหรือไม่นั้นสามารถดูได้จากระยะทางที่รถวิ่งได้เมื่อชาร์จเต็ม 100% โดยให้สังเกตว่ารถวิ่งได้ระยะทางเท่าเดิมหรือน้อยลง หากวิ่งได้น้อยลงทั้งที่เปอร์เซ็นต์แบตเต็มร้อย ก็อาจเป็นไปได้ว่าประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลดลง
ในการรักษาแบตรถไฟฟ้าให้ใช้งานได้ยาวนาน นอกจากจะหลีกเลี่ยงอุณหภูมิสูงและการชาร์จแบตเตอรี่อย่างเหมาะสมแล้ว การเลือกใช้งานที่ชาร์จก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วสถานีรถไฟฟ้าตามปั๊มน้ำมันจะเป็นการชาร์จแบบ DC เพื่อรองรับการชาร์จเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที แต่การชาร์จแบบ DC ค่อนข้างส่งผลต่อประสิทธิภาพระยะยาวของแบตเตอรี่ จึงควรเลือกชาร์จแบบ AC ถึงจะดีกว่า
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงเลือกติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ไว้ที่บ้าน เพราะ EV Charger สำหรับติดตั้งที่บ้านนั้นจะเป็นการชาร์จไฟแบบ AC สามารถชาร์จรถไฟฟ้าทิ้งไว้ในเวลากลางคืนได้ นอกจากนี้การเลือกใช้ EV Charger ที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานก็จะช่วยยืดอายุแบตเตอรี่รถไฟฟ้าได้เช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม: ติดตั้ง EV Charger ที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน?
ราคาแบตรถไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่

ราคาแบตรถไฟฟ้าจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 84,000 บาท ไปจนถึง 1,500,000 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและประเภทรถที่ใช้ รวมถึงขนาดแบตเตอรี่ วัสดุ และประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน
ณัฐภูมิ วิศวกรรม บริการติดตั้งและดูแลบำรุงรักษาเครื่องชาร์จแบตรถไฟฟ้า (EV Charger)

ซื้อรถไฟฟ้าและใช้งานให้คุ้มค่าพร้อมถนอมแบตรถไฟฟ้าให้ดีที่สุด เลือกติดตั้ง EV Charger ที่ได้มาตรฐานระดับสากลกับ Nutthaphume Engineering ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษาที่ชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านและธุรกิจ เราใช้อุปกรณ์จากแบรนด์คุณภาพ อย่าง Wallbox ผู้ผลิตเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าทั้งแบบตั้งพื้นและติดผนัง ประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัย ติดตั้งโดยทีมช่างจาก ณัฐภูมิ วิศวกรรม ที่มากประสบการณ์และได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ให้การลงทุนกับรถไฟฟ้าของคุณคุ้มค่าและได้มาตรฐานสูงสุด ไว้ใจเรา Nutthaphume Engineering
ปรึกษาทีมงาน/ขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา