7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นทางเลือกของการใช้พลังงานทดแทนที่ช่วยเรื่องประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นการส่งเสริมด้านพลังงานสะอาด ซึ่งนอกจากที่อยู่อาศัยแล้ว การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน ก็ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการด้วยเหมือนกัน เพราะช่วยลดต้นทุนด้านไฟฟ้าให้กับการทำธุรกิจและมีโอกาสได้รับกำไรเพิ่มมากขึ้น การติดตั้ง Solar Rooftop ยังเป็นวิธีที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรงงาน ในเชิงของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์โรงงาน
ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

การทำงานของระบบ Solar Rooftop

ก่อน ติดตั้งโซลล่าเซลล์โรงงาน ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ Solar Cell Rooftop กันก่อน ซึ่งระบบนี้เป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านการเชื่อมต่อสายส่ง ซึ่งต้องใช้การรับแสงอาทิตย์จากแผงเซลล์ หรือ Solar Module ที่ติดตั้งบนหลังคาโรงงาน โดยระบบจะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับจาก Inverter เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้งานไฟฟ้าจากระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้ามาใช้ทดแทนได้เช่นเดียวกัน ทำให้การใช้ระบบโซล่าเซลล์โรงงานมีส่วนช่วยลดรายจ่ายในเรื่องค่าไฟเป็นอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม : 5 คุณสมบัติที่ต้องมีของบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานที่น่าเชื่อถือ

 

7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

สำหรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของโรงงานที่กำลังตัดสินใจเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน เพื่อให้มีความเข้าใจและมั่นใจได้มากขึ้น ต่อไปนี้คือ 7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการติดตั้ง Solar Rooftop โรงงาน

ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงาน

1. ติดโซล่าเซลล์โรงงาน คุ้มจริงไหม?

การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน เป็นการลงทุนที่ต้องใช้งบประมาณสูง ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนไม่แน่ใจว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าจริงหรือไม่ ซึ่งก็ต้องบอกว่า “คุ้มค่า” มากทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อมองในระยะยาวแล้ว โอกาสที่จะคืนทุนหลังติดโซล่าเซลล์โรงงานจะอยู่ที่ประมาณ 5-7 ปี อีกทั้งระบบโซล่าเซลล์ยังรองรับการใช้งานได้ในระยะยาวถึง 25 ปี และหลังจากคืนทุนแล้วการใช้ไฟฟ้า “ฟรี” จากแสงอาทิตย์จะช่วยลดต้นทุนเรื่องค่าไฟ ทำให้สามารถสร้างผลกำไรที่เติบโตมากขึ้นได้ 

ติด Solar Rooftop

2. มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และ BOI

การติดตั้ง Solar Rooftop โรงงานไม่เพียงแค่ให้ความคุ้มค่าในเรื่องลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังได้รับการส่งเสริมจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือ Thailand Board of Investment (BOI) ซึ่งผู้ลงทุนติดตั้งสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยจำนวนเงินที่ลดได้ จะคำนวณจาก 50% ของเงินลงทุน และยังสามารถใช้ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร รวมถึง VAT 7% อีกด้วย สำหรับประเภทอุตสาหกรรมที่สามารถขอรับสิทธิ์ BOI ได้มีทั้งหมด 8 ประเภท คือ

 

  • แร่ เซรามิกซ์ และโลหะมูลฐาน
  • อุตสาหกรรมเบา
  • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
  • เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก
  • การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
  • กิจการสาธารณูปโภค และบริการ
  • เกษตรกรรม และผลผลิตจากการเกษตร
  • อุปกรณ์ขนส่ง โลหะ และเครื่องจักร
Solar Cell Rooftop

3. ประเภทหลังคาและข้อจำกัดในการติดตั้ง

หลังคาโรงงานทั้งแบบ Roof Slab และ Metal Sheet สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้ เพราะน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์อยู่ที่ประมาณ 10-12 kg. ต่อตารางเมตร ซึ่งเพียงพอต่อปริมาณน้ำหนักที่หลังคารับได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต้องพิจารณาเพิ่มเติมจากแปที่รองรับ เช่น วัสดุของแปคืออะไร (เหล็กกล่อง, รางซี, ไม้) ชนิดแผ่นมุงหลังคาและน้ำหนักต่อตารางเมตร รวมถึงอายุการใช้งาน สำหรับข้อจำกัดในการติดตั้งคือเรื่องของพื้นที่ ที่ไม่ควรมีเงาบังแผงโซล่าเซลล์และหลังคาที่จะติดตั้งไม่ควรเป็นสังกะสี หรือแบบลอนคู่ที่มีอายุการใช้งานเกิน 10 ปี

หากไม่มั่นใจในเรื่องของการติดตั้ง หรือต้องการตรวจสอบพื้นที่ติดตั้งว่าเหมาะสมหรือไม่ สามารถปรึกษา บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อรับคำแนะนำก่อนติดตั้งได้

งานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงาน

4. รูปแบบการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน

การติด Solar Rooftop นั้นเหมาะกับโรงงานที่ใช้พลังงานไฟฟ้าตอนกลางวันมากกว่าใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืน เพราะต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้ช่วงกลางวันสามารถดึงพลังงานมาใช้ได้มากเพียงพอต่อการทำงาน แต่การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานที่ทำงานในช่วงกลางคืนมากกว่า อาจไม่ตอบโจทย์เรื่องประหยัดค่าไฟได้มากนัก ซึ่งอาจเลี่ยงไปใช้การคำนวณค่าไฟจากการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU แทน

ณัฐภูมิ วิศวกรรม บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

5. การติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU

การติดโซล่าเซลล์โรงงานมีจุดประสงค์เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นแบบ TOU เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากขึ้น โดย TOU นั้นจะคิดอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลา ซึ่งโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้ากำหนดให้ค่าไฟทีโอยูมีช่วง Off Peak หรือช่วงที่อัตราค่าไฟต่ำ คือ จันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00-09.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีช่วง Off Peak ตลอดทั้งวัน ส่วนอัตราค่าไฟสูง หรือ On Peak คือ จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-22.00 น.

สำหรับการใช้อัตราค่าไฟตามมิเตอร์ TOU นั้นจะเหมาะกับโรงงานที่มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยแล้วเกินกว่า 400 หน่วย ซึ่งจะมีอัตราค่าไฟเฉลี่ยถูกกว่าการคำนวณจากมิเตอร์ทั่วไป ยิ่งใช้ควบคู่กับการติดตั้ง Solar Rooftop ด้วยแล้วยิ่งประหยัดค่าไฟในช่วงเวลากลางวันได้ ทั้งนี้หากมีการทำงาน 2 กะ (เช้า,กลางคืน) แนะนำให้เลือกใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่กินพลังงานสูงในช่วงกะกลางคืน ซึ่งเป็นเวลา Off Peak ก็จะยิ่งช่วยลดรายจ่ายค่าไฟได้มากขึ้นอีก

บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

6. การขออนุญาตก่อนและหลังติดตั้ง

ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานที่มีการขนานไฟฟ้า ต้องยื่นขออนุญาตกับทางหน่วยงานราชการท้องถิ่นก่อน โดยเอกสารที่ต้องยื่นก่อนติดตั้ง คือ

  • แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ข.1

  • แบบแปลนแผนผังโครงสร้างหลังคา และรายละเอียดของการติดตั้งโซล่าเซลล์

  • รายการคำนวณโครงสร้าง เอกสารรับรองของวิศวกรโยธาผู้ควบคุมและออกแบบงานติดตั้งโซล่าเซลล์

ในขั้นตอนก่อนการติดตั้งหลังจากที่ยื่นแบบคำขออนุญาตแล้ว จะได้เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานมีความปลอดภัย สามารถติดตั้งได้ซึ่งขั้นตอนนี้ผู้ประกอบการสามารถติดตั้งได้ทันที และหลังจากติดตั้งแล้วต้องมีการยื่นเอกสารเพิ่มเติมไปยังการไฟฟ้าในพื้นที่ ให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้า เพื่อขอรับเอกสารแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต หากเป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 200 kVA ขึ้นไป ต้องขอใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2) ด้วย

ทั้งนี้ใบอนุญาตสำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน อาคาร หรือนิคมอุตสาหกรรม จะมีแบ่งเป็น 4 ประเภทย่อยตามรูปแบบธุรกิจ และสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบต่างกัน ดังนี้

  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารควบคุม (อ.1) รับผิดชอบโดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

  • ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.01) รับผิดชอบโดย การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.)

  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (กนอ.02) รับผิดชอบโดย การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.)

  • ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) รับผิดชอบโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
ณัฐภูมิ วิศวกรรม รับออกแบบและติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

7. เลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐาน

ข้อควรรู้ก่อนติดโซล่าเซลล์โรงงานข้อสุดท้าย คือ การเลือกบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และเป็นมืออาชีพในงานติดตั้งระบบ Solar Rooftop เนื่องจากเป็นงานติดตั้งในโรงงานที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ยิ่งต้องให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญช่วยดูแลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การประเมินสถานที่ คำนวณน้ำหนักโหลดในการติดตั้งบนหลังคาเพื่อความปลอดภัย การให้คำแนะนำเรื่องเอกสารในการขออนุญาตทั้งก่อนและหลังติดตั้ง รวมถึงเรื่องการรับประกันผลงานหลังติดตั้งและเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับสากลอีกด้วย

โซล่าเซลล์โรงงาน

Nutthaphume Engineering รับออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์

ณัฐภูมิ วิศวกรรม เรามีบริการรับออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบระบบ Solar Rooftop ให้เหมาะสมกับโรงงานของท่าน ด้วยแผงโซล่าเซลล์และอินเวอร์เตอร์คุณภาพสูงจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก มั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพและดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้เรายังมีบริการบำรุงรักษา และตรวจสอบระบบหลังติดตั้งเพื่อการใช้งานที่ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ


หากคุณกำลังมองหา บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน ณัฐภูมิ วิศวกรรม ยินดีให้บริการ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Nutthaphume Engineering

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)