ข้อควรระวัง! เมื่อปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ทั้ง โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน

ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบของการใช้ในที่พักอาศัย หรือการทำงานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แม้จะมีความสำคัญ แต่ระบบไฟฟ้าแรงสูงก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังด้วยเหมือนกัน เพราะมีหลายครั้งที่ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมีสาเหตุมาจากระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมลัดวงจร หรือไม่ได้รับการดูแลบำรุงรักษา เพราะขาดการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี ที่ได้มาตรฐาน

เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน หรือผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงอันตรายไฟฟ้าแรงสูงกันมากขึ้น วันนี้เรามีข้อควรระวังและแนวทางปฏิบัติเมื่อต้องใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงมาบอกกัน
ข้อควรระวังเมื่อปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง
อันตรายไฟฟ้าแรงสูง

ทำความรู้จักกับ “สายไฟฟ้าแรงสูง”

สายไฟฟ้าแรงสูง เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่ใช้ในระบบส่งและกระจายกำลังไฟฟ้า เพื่อให้การส่งกระแสไฟฟ้าในระยะไกลมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสายไฟแรงสูงนั้นจะมีการสูญเสียทางไฟฟ้าที่ต่ำกว่าระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ และจะใช้สายไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งเส้นในการส่งพลังงานไฟฟ้า ทำให้ระดับของแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 1,000 โวลต์ แม้ว่าการมองด้วยตาเปล่าอาจไม่รู้ว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูงกี่โวลต์ แต่หากเห็นว่าระดับสายไฟอยู่สูงกว่าพื้นดินประมาณ 9-10 เมตรขึ้นไป และมีการติดตั้งฉนวนที่เรียกว่าลูกถ้วยไฟฟ้า ให้ประเมินไว้ก่อนว่าเป็นลักษณะของไฟฟ้าแรงสูงที่มีอันตราย และต้องระมัดระวังเรื่องระยะห่างด้วย 

ทั้งนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงกับอันตราจากไฟฟ้าแรงสูงส่วนมากแล้วจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ งานขุดเจาะ งานก่อสร้าง งานติดตั้งป้ายโฆษณา รวมถึงผู้ที่ต้องอาศัยในอาคาร หรือทำงานในพื้นที่ใกล้เคียงกับระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเรื่องระยะห่างและปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัยอยู่เสมอ

ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจาก

สายไฟฟ้าแรงสูง

เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง ต้องมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่เหมาะสม เพราะไม่เพียงแค่ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานใกล้กับไฟฟ้าแรงสูงเท่านั้น แต่อาคารสำนักงาน หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้เคียงก็ต้องให้ความสำคัญกับระยะห่างที่ปลอดภัยด้วย โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. ระยะห่างของสายไฟแรงสูงกับสิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณา

สำหรับมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยเมื่อวัดจากแนวนอน ระหว่างสายไฟแรงสูง กับอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณา ควรมีระยะห่างดังนี้

  • ขนาดแรงดันไฟฟ้า 12,000 – 24,000 โวลต์ ระยะห่างอาคารต้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ระยะห่างป้ายโฆษณาต้องไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

  • ขนาดแรงดันไฟฟ้า 69,000 โวลต์ ระยะห่างอาคารต้องไม่น้อยกว่า 2.13 เมตร ระยะห่างป้ายโฆษณาต้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร

  • ขนาดแรงดันไฟฟ้า 115,000 โวลต์ ระยะห่างอาคารและป้ายโฆษณาต้องไม่น้อยกว่า 2.30 เมตร

2. ระยะห่างของสายไฟแรงสูงกับผู้ปฏิบัติงาน หรือเครื่องมือกลในการทำงาน

มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง หรือมีการใช้เครื่องมือกลในการทำงาน ต้องอยู่ห่างจากไฟฟ้าแรงสูงตามระยะปลอดภัยต่อไปนี้

  • ขนาดแรงดันไฟฟ้า 12,000 – 69,000 โวลต์ ระยะห่างต้องไม่น้อยกว่า 3.05 เมตร

  • ขนาดแรงดันไฟฟ้า 115,000 โวลต์ ระยะห่างต้องไม่น้อยกว่า 3.20 เมตร

  • ขนาดแรงดันไฟฟ้า 230,000 โวลต์ ระยะห่างต้องไม่น้อยกว่า 3.90 เมตร

สำหรับกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำงานในระยะห่างที่น้อยกว่ามาตรฐาน ต้องได้รับคำแนะนำหรือมีการดำเนินการหุ้ม หรือคลุมสายไฟจากการไฟฟ้าในพื้นที่ ก่อนเริ่มปฏิบัติงานทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

ระยะห่าง สายไฟฟ้าแรงสูง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง

หากมีความจำเป็นที่ต้องเข้าใกล้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ใกล้กับไฟฟ้าแรงสูง หรือภายในบริเวณจุดติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ควรหลีกเลี่ยงและปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • ห้ามทำนั่งร้านค้ำหรือคร่อมสายไฟหรือใกล้ไฟฟ้าแรงสูงโดยไม่มีฉนวนปิดคลุม

  • ห้ามทำงานใด ๆ ใกล้กับสายไฟหรือระบบไฟฟ้าแรงสูงขณะที่มีฝนตก ลมกรรโชกแรง

  • ห้ามราด ฉีดพ่น หรือเทน้ำ ในบริเวณใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงหลีกเลี่ยงการติดเครื่องระบายความร้อนหรือเครื่องหล่อเย็นที่อยู่ใกล้กับระบบไฟฟ้าแรงสูงโรงงานอุตสาหกรรม

  • ห้ามเผา หรือทำให้เกิดความร้อนและควันไฟในแนวเดินสายไฟแรงสูง

  • ห้ามปลูกต้นไม้ ใกล้แนวเสาไฟฟ้า หรืออยู่ในระยะใกล้กว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้

  • ห้ามจับ ดึง หรือแกว่งลวดสลิงเหล็กที่ใช้ยึดและโยงเสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณโคนเสาไฟฟ้า

  • หากมีการก่อสร้างในพื้นที่ใกล้เคียง แม้ว่าจะอยู่ในระยะห่างตามกำหนดก็ต้องระมัดระวังเรื่องผ้าคลุมกันฝุ่นไม่ให้ปลิวไปสัมผัสสายไฟฟ้าแรงสูงโดยเด็ดขาด

  • หากต้องทำการขุดเจาะ หรือฝังแท่งโลหะลงดิน ควรมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการเดินสายไฟฟ้าแรงสูงอยู่ใต้พื้นดิน

ข้อควรระวังจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด

แม้ว่าจะหลีกเลี่ยงการทำงานใกล้ไฟฟ้าแรงสูงแล้ว แต่หากเกิดเหตุสุดวิสัยอย่างกรณีของสายไฟฟ้าแรงสูงขาด สิ่งต้องระวัง และควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้

  • ห้ามยืนใต้แนวสายไฟ หรือเข้าใกล้บริเวณที่มีสายไฟแรงสูงขาดชำรุด

  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีต้นไม้หรือกิ่งไม้เสียดสีกับสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะมีความเสี่ยงสูงที่ไฟฟ้าจะวิ่งลงมากับต้นไม้

  • ห้ามซ่อมแซมด้วยตัวเอง ควรแจ้งกับการไฟฟ้าในพื้นที่ให้เข้ามาดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด

  • หากสายไฟแรงสูงที่ขาดลงมาพาดอยู่กับรถยนต์ ถ้าเป็นไปได้ควรรีบขับรถให้พ้นจากสายไฟฟ้าแรงสูงที่พาดอยู่ กรณีที่ขยับรถไม่ได้ให้แจ้งกับทางการไฟฟ้าในพื้นที่เพื่อแก้ไขหรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อนลงจากรถ
บริการ pm ระบบไฟฟ้า

ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในโรงงานได้ ด้วยการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี

การปฏิบัติตามคู่มือป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้า เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงหรือปฏิบัติหน้าที่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการที่มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยแล้ว ต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีด้วย เพราะการตรวจสอบไฟฟ้านั้นเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี และยังเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของการตรวจระบบไฟฟ้า ผู้ประกอบการควรให้ บริษัทผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าเข้าไปตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นจะสามารถทำการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้นจริง รวมถึงช่วยสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยให้กับโรงงานได้อีกด้วย 

Nutthaphume Engineering เราคือผู้ให้บริการตรวจรับรองระบบไฟฟ้าประจำปี โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ และมีเครื่องมือในการตรวจสอบที่ทันสมัยตรงตามมาตรฐาน รวมถึงบริการ pm ระบบไฟฟ้า ที่ครอบคลุมทั้งการดูแลและบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เพื่อให้การทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแรงสูงในโรงงานอุตสาหกรรมปลอดภัยและพร้อมใช้งานได้มากที่สุด โดยท่านสามารถติดต่อเราได้ทันที เพื่อรับปรึกษา รับคำแนะนำ หรือรับบริการด้านงานไฟฟ้าแรงสูงที่ครบวงจร

Share:
Facebook
WhatsApp
Email
Picture of Nutthaphume Engineering
Nutthaphume Engineering

ให้บริการอย่างครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ
ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

เลือกอ่าน

Nutthaphume Engineering ให้บริการอย่างครบวงจร

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ระบบโซลาร์เซลล์ ระบบเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)